TEAM PERFORMANCE DRIVEN BY PLAYFULNESS
“ การบริหารผลงานที่ดี ไม่ใช่เครื่องมือที่เรามาวัด กดดันให้สมาชิก พยายามทำผลงานให้ถึงเป้าหมายอย่างเช่น เครื่องจักร
กลับกัน นี่คือ วิถีและกระบวนการที่ต้องสร้างพลังและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้พวกเขาได้ใช้ศักยภาพและแรงบันดาลใจ
สร้างสรรค์งานของเขาและทีม เพื่อกันและกัน ”
หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)
บทบาทที่สำคัญของหัวหน้าทีม เรื่องหนึ่ง หนีไม่พ้นเรื่อง “การสร้างผลงาน(ทีม)” เป็นความคาดหวังข้อหนึ่งที่ติดตัวหัวหน้าทีมมาแน่ๆ หากมีการโปรโมท หรือจัดตั้งตำแหน่งงานนี้ขึ้น ภาพที่เราคุ้นเคยของหัวหน้างานกับบทบาทนี้ ก็คือ การจัดตารางการทำงาน การมอบหมายกระจายงานให้สมาชิก การควบคุมและคอยติดตามความคืบหน้าให้เป็นไปตามแผน และมาจบที่การประเมินวัดผล รวมถึงให้รางวัลหรือคาดโทษ เป็นภาพที่คล้ายคนคุมคนงาน ซึ่งอาจเคยใช้ได้ดีในยุคสมัยหนึ่ง แต่กับโลกที่พัฒนาขึ้น พวกเขาค้นพบว่าแนวทางที่เคยใช้การบริหารผลงานแบบเดิมของหัวหน้างาน อาจจะไม่เพียงพอต่อโลกที่วิ่งเร็วอีกแล้ว เราไม่ได้ต้องแค่เพียง “ผลงาน (ตาม KPI)” การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของทีม การร่วมคิด ร่วมมอง ร่วมสร้าง ดูจะเป็นหนทางที่ถูกเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงมุมคิด และกระบวนการบริหารผลงาน
การบริหารผลงาน (Performance Management) ในมุมมองขององค์กรและการบริหารแนวใหม่จึงเปลี่ยนไป พวกเขามองว่า PMS (Performance Management System) ไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบกำกับเส้นทางผลงานแบบ GPS แต่คือ เป็นดั่งกระบวนการหรือ ระบบ ที่เป็น “แกน” สำคัญขององค์กรในการเคลื่อนตัวไปสู่เป้าหมาย เปรียบเสมือนวิถีการใช้ชีวิตขององค์กร (Everyday Life) ก็ว่าได้ ไม่ใช่เพียงแค่การตั้งเป้าหมายและวัดผลงาน แต่หมายรวมถึงการพูดคุย การเรียนรู้ การใช้ชีวิตร่วมกันในระหว่างทางทั้งหมด โดยมีการนำตัวอย่างของการบริหารผลงานของทีมกีฬา ที่ประสบความสำเร็จมากมายมาศึกษาและมาปรับใช้ในการบริหารธุรกิจ รวมถึงความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นเรื่องนี้จึงสำคัญมาก เป็นเรื่องที่ผู้นำและทีมงานทุกคนจะต้องได้รับการฝึกฝน โดยแนวทางของการบริหารผลงานยุคใหม่ จะให้ความสำคัญในองค์รวม และเปิดพื้นที่ให้ทีมงานเกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม (Engage) สามารถทำงานด้วยตนเอง ( Self-Management) และมีการร่วมคิด ร่วมพัฒนาไปพร้อมกับทีม อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning & Growth) มีความยืดหยุ่นและทันกับการเปลี่ยนแปลง
หลักสูตร TEAM PERFORMANCE DRIVEN BY PLAYFULNESS - How to Leading and Inspiring a Great Performance หรือ สร้างผลงานชั้นเลิศ ด้วยแนวคิดทำงานสนุกเหมือนเล่น เป็นแนวทางใหม่ของการบริหารผลงานแบบองค์กรจัดการตนเอง (Self- Management) ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ และกระบวนการที่ให้สมาชิกทุกคนในนำความสร้างสรรค์ในตัวเอง ออกมาร่วมกันสร้างคุณค่า และผลงานที่ยอดเยี่ยม (Great Performance) รวมถึงได้เรียนรู้ เติบโตไปด้วยกัน ที่ช่วยตอบโจทย์ของธุรกิจขององค์กร หลักสูตรนี้จะเน้น
- การสร้างกระบวนการบริหารผลงานที่เปิดพื้นที่ให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วม(จริงๆ) (Engage People)
- ส่งเสริม สร้างบรรยากาศที่ช่วยให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improve Work)
- สร้างความรู้สึกสนุก ไปพร้อมกับความจริงจังในการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ให้สมาชิกถึงได้ส่งมอบผลงานที่มีความหมาย (Meaningful and Playfulness)
นอกเหนือจากการติดตั้งทักษะให้ผู้เรียนแล้ว ยังจะช่วยสร้างรูปแบบและวิถีการทำงานขององค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่คนทำงานสนุกและพร้อมเรียนรู้ไปกับการสร้างผลงานที่ดีขึ้นร่วมกัน (Team Learning) ยิ่งทำงานยิ่งเก่งขึ้น มีนวัตกรรม สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมถึงมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น วางใจกันในทีม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Objectives)
- ให้ผู้เรียนได้เปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญในการสร้างผลงานทีมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางการบริหารแนวใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมที่แท้จริง
- ได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของการเป็นหัวหน้าทีม ที่ช่วยอำนวยส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการสร้างผลงานและการพัฒนา ที่มีความสร้างสรรค์ สนุก และสร้างความหมาย ความรู้สึกที่ดี
- ผู้เรียนตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการบริหารผลงาน เข้าใจและสามารถนำแนวทาไปปรับใช้ในการบริหารผลงานให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ (Continuous Performance Improvement
หัวข้อหลักและจุดเน้นการเรียนรู้ ในโปรแกรมนี้ (Key Learning Points)
ในหลักสูตรนี้เราได้นำแนวคิดและหลักปฏิบัติของการบริหารผลงานแนวใหม่ มาออกแบบเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ 4 Ways for Managing Playfulness Performance เป็นแกน โดยจะแบ่งเป็นในช่วง 2 ช่วงหลักๆ ได้แก่ ช่วงที่ 1 จะเน้นการปูความเข้าใจและมายด์เซ็ทของการบริหารผลงานที่เน้นการมีส่วนร่วมและเน้นความต่อเนื่อง ซึ่งปรับจากการบริหารผลงานแบบเดิมที่เน้นการสร้างสนามสอบหรือการประเมินวัด มาสู่การ พื้นที่การคุณค่าร่วมกัน และจะออกแบบให้ผู้เรียนได้ลองสัมผัสกับ แนวปฏิบัติที่ 1 และ 2 ที่จะเน้นการวางแผนผลงาน ในภาคปฏิบัติจริง และในช่วงที่สอง จะเน้นไปที่แนวปฏิบัติที่ 3 และ 4 ซึ่งจะเป็นการบริหาร สร้างผลงานจริงของทีม เหล่าผู้นำจะต้องทำอะไร อย่างไร ในการที่จะขับเคลื่อนผลงานของทีมอย่างต่อเนื่อง โดยที่สมาชิกได้ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ได้ร่วมทดลองไปด้วยกัน โดยรู้สึกสนุก
- Management 3.0 การบริหารทีม บริหารองค์กร ในโลกยุคใหม่
- ความสำคัญของการบริหารผลงาน และวิวัฒนาการของระบบบริหารผลงาน สู่การบริหารผลงานที่เน้นการมีส่วนร่วม (Performance Management Evolutionary)
- ความแตกต่างระหว่างการบริหารผลงานแบบแนวคิด Force Concept และ Inspiring Performance Management Concept
- บทบาทสำคัญของหัวหน้าทีม (Supervisor) กับบริหารผลงานทีม ที่เน้นการมีส่วนร่วมและการทำงานที่สร้างสรรค์§
- 4 Ways to Managing Playfulness Performance แนวปฏิบัติในการบริหารผลงานทีมที่สร้างพลังการมีส่วนร่วม ความสนุก และการสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม (Team Awareness – Team Alignment – Performance Conversation – Creative Motivation)
- กระบวนการสร้างเป้าหมายที่ทุกคนรู้สึก “อิน” และมีส่วนร่วมจริงๆ จาก Inner Drive แรงขับภายใน
- ออกแบบภารกิจ การกระจายงานและการบริหารผลงานทีมด้วย Team Performance Canvas เครื่องมือสำคัญของการสร้างผลงานของทีม
- CFR (Conversation-Feedback-Recognition) ศิลปะการสร้างพื้นที่การพูดคุยที่ช่วยอำนวยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน , การพัฒนาผลงานและโฟกัส , การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ , การสร้างพลังใจ และวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน
- การออกแบบสภาพแวดล้อม กิจกรรม รางวัลที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจในการบริหารผลงานที่สร้างสรรค์ และสัมพันธ์ที่กับแรงขับภายใน (Motivation Through Appreciation)
- เรียนรู้ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง เช่น Collaboration Board , Performance Check-in Card , Growth Book
ทักษะที่ฝึกฝน
- ความเข้าใจในระบบและกระบวนการบริหารผลงานทีมที่เน้นการมีส่วนร่วมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Playfulness Performance Management Understanding)
- การคิดที่เป็นระบบและเห็นภาพ (System Thinking)
- ทักษะการวางแผนและบริหารเวลา (Planning & Time Management)
- ทักษะ Facilitator นำกระบวนการพูดคุยแบบกลุ่มที่ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบส่วนร่วม (Facilitation Skills) ซึ่งในคลาสจะได้ฝึกการนำคุยในบริบทต่างๆ เช่น การตั้งเป้าหมาย , การวางแผนการทำงาน , การทบทวนและเรียนรู้ คิดร่วมกัน เป็นต้น
- การออกแบบรางวัลและการสร้างแรงจูงใจที่ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน (Creative Reward and Motivation)
PRACTICES กิจกรรมเชิงประสบการณ์ที่เราจะฝึกฝนกัน