Self-Management
หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)
ในการบริหารและนำทีมในแบบเดิม เราจะเห็นภาพการทำงานร่วมกันแบบบนลงล่าง ในโครงสร้างแบบพีรามิด แนวทางนี้อาจจะเคยใช้งานได้ในยุคก่อนหน้านี้ แต่เมื่อโลกของเรามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เราทุกสามารถที่จะเข้าถึงข้อมูล ความรู้ การสื่อสาร ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว การนำทีมที่ต้องพึ่งพิงผู้นำเพียงคนเดียว อาจจะไม่ใช่ทางเลือกเดียวที่ดีพอ ยิ่งถ้าความสามารถหรือความสัมพันธ์ในทีมไม่ดี ยิ่งจะส่งผลกระทบต่อผลงาน การเติบโต และพลังการเคลื่อนตัว เปลี่ยนแปลงของทีม
Self-management หรือ การจัดการตนเอง เป็นแนวทางที่ของการนำหรือสร้างทีมอีกแบบ ที่ปรับการมุมมองของการทำงานร่วมกันจาก แนวดิ่ง (Vertical) มาเป็น “แนวราบ” (Horizontal) โดยเชื่อว่า สมาชิกทุกคนในทีมล้วนมีจุดแข็ง มีความเป็นผู้นำในตัวเอง ที่สามารถช่วยกัน “ขับเคลื่อน จัดการทีมร่วมกัน (Co-Management)” ทั้งการรับรู้สถานการณ์ การเรียนรู้ การวางแผนคิดร่วมกัน การตัดสินใจร่วมกัน โดยยังมีผู้นำทีมอยู่ แต่จะขยับมาทำหน้าที่ในบทบาทของโค้ช พี่เลี้ยง และ Facilitator ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทีม แทนการออกคำสั่ง กำกับ ในแบบเดิม Self-Management เป็นโมเดลการทำงานแนวใหม่ที่ทำกันจนเกิดมากมายในองค์กรรอบโลก รวมถึงในเมืองไทยเองก็มีองค์กรในกระบวนทัศน์ใหม่นี้มากขึ้น ซึ่งช่วยอย่างมากที่ทำให้เราสามารถสร้างการทำงานร่วมกันที่มีพลัง สร้างการมีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้ พัฒนาให้สมาชิกในทีมเก่งขึ้น เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในโปรแกรม Self-Management – The way to cultivating talent team and co-management เป็นชุดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ออกแบบมาจากหลักความรู้และแนวปฏิบัติของการสร้างองค์กรหรือทีมจัดการตัวเอง จากองค์กรสีทีล (Teal Organization) ซึ่งเป็นงานที่ Excellent People ได้รับเอกสิทธิ์มาถ่ายทอดต่อจากหนังสือ Reinventing Organizations และ Going Horizontal โดยเรามีประสบการณ์จริงในการสร้างการจัดการตัวเองกับองค์กรของเราและลูกค้าที่ทำงานร่วมกันมาเกือบ 10 ปี โปรแกรมนี้จะเน้นติดตั้งมายด์เซ็ท ความเข้าใจและทักษะที่สำคัญในการเป็นผู้นำที่พร้อมจัดการตัวเอง ทั้งความเข้าใจในตัวเอง (Inner Workand Self-Awareness) ทักษะที่จะช่วยให้เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น และสุดท้ายที่เน้นมากคือ การเรียนรู้แนวปฏิบัติ (Practice) สำคัญๆ ที่จะช่วยให้เราจัดการตัวเองและร่วมกันดูแลทีม (Co-Management) ให้เกิดผลงาน การเรียนรู้ ความสัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องได้
แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้
เราใช้ 4 จัตุรัสความสัมพันธ์ในการสร้างองค์กร หรือ 4 Quadrant of Integral Model ของ Ken Wilber เป็นแกนสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยจะแบ่งเป็น จะแบ่งการเรียนรู้เป็นการฝึกฝนที่ "Individual" หรือ การทำงานกับตัวเรา ทั้งการตระหนักรู้ในตนเอง เข้าใจตัวเอง และการฝึกทักษะที่จำเป็นที่จะช่วยให้เราจัดการตัวเองได้ดีขึ้น และอีกส่วนที่สำคัญ คือ "Collective" เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม และแนวทางปฏิบัติในการจัดการร่วมกันเป็นทีม (Co-Management) เช่น Advise Process , Self-Reflection , Decision Making Process
- ให้ผู้เรียนตระหนักรู้และเห็นมุมมอง ความเป็นตัวเองที่ชัด เพื่อค่อยๆ ขยายความเชื่อของตัวเองมาสู่การจัดการตัวเอง หรือ การนำทีม นำชีวิตที่เขาสามารถทำได้ กล้าที่จะนำ
- ให้ผู้เรียนได้เข้าใจ รู้จักและเชื่อมโยงกับศักยภาพ ความเป็นผู้นำหรือ Talent ภายในตัวเอง อันเป็นทรัพยากรสำคัญที่เขาจะนำมาใช้ในการสร้างงาน สร้างชีวิต รวมถึงพัฒนาต่อยอด
- สร้างความเข้าใจในแนวทางของการนำทีมที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Co-Management) และสามารถเป็นตัวเองได้ (Autonomy)
- ฝึกฝน ติดตั้งทักษะและแนวปฏิบัติที่สำคัญต่อการจัดการตัวเอง ให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้จริงกับชีวิตและการงานได้ รวมถึงพัฒนาไปสู่การสร้างเป็นวัฒนธรรมการทำงานได้
เราใช้ 4 ระดับของการจัดการตัวเอง (Self-Management) ที่นำเสนอโดย J. Richard Hackman เป็นหัวใจของการฝึกฝน และสร้างประสบการณ์เรียนรู้ โดยระดับที่เราเน้นคือ ระดับ 2 และ 3 ของการจัดการตนเอง โดยสิ่งที่เราเน้นมากขึ้นกว่าทฤษฎีต้นทาง คือ การเน้นฝึกการตระหนักรู้ และการเรียนรู้ตัวเองในระดับบุคคล (Self-Awareness and Self-Learning) ซึ่งเป็นแกนสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการจัดการตัวเองของมนุษย์และกลุ่ม
ในประสบการณ์ของการฝึกอบรม เรียนรู้ในโปรแกรมนี้ เราจะเน้นฝึกฝนตามแผนภาพหลักความรู้ "จัตุรัสความสัมพันธ์ของการพัฒนาองค์กร" (4 Quardrants of Integral Model) ของ Ken Wilber โดยจะเน้นฝึกฝนจากฝั่งล่างซ้าย ที่เน้นระดับบุคคลจากภายในก่อน ให้ผู้เรียนทุกคนมีความพร้อมในการจัดการตัวเองจากภายใน ซึ่งจำเป็นต้องใช้คุณภาพของตระหนักรู้สูง และค่อยๆ สร้างประสบการณ์เรียนรู้ แบบฝึกหัดที่ให้ได้สัมผัสทั้ง 3 ส่วนที่เหลือของโมเดล
ส่วนที่ 1 : ความเข้าใจใน "การจัดการตัวเอง" (Principle to Self-Management)
- กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหาร นำทีม จากองค์กรเครื่องจักร (Theory X) สู่ องค์กรจัดการตัวเอง (Theory Y)
- ความหมายและความสำคัญ Self-Management กับโลกยุคใหม่
- 4 Stage ของการจัดการตัวเอง (4 Stage of Self-Management)
- ทักษะที่สำคัญในการจัดการตัวเอง (Self-Management Skills)
ส่วนที่ 2 : ปลุกความเป็นผู้นำในตนเอง (Self-Leadership)
- เรียนรู้ความเป็นผู้นำสไตล์ต่างๆ ผ่านผู้นำสี่ทิศ และ Me myself 12 ตัวตน เพื่อเข้าใจในจุดแข็ง ข้อจำกัด จุดเปราะบาง สำหรับ เป็นแนวทางการพัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ติดตั้งกรอบคิดเติบโต (Growth Mindset) เข้าใจความหมาย และได้ฝึกฝนกรอบคิดดังกล่าวให้เข้มแข็ง
- เรียนรู้การฟื้นคืนจากอารมณ์ลบเมื่อเจอแรงกดดันและความท้าทาย ด้วยองค์ความรู้ทางสมองและความปลอดภัยทางจิตวิทยา (Psychological safety)
- การกระตุ้นตัวเองและดูแลพลังชีวิตด้วยความสุข 3 แบบ และอาหารใจ 10 หมู่
- ทบทวนเป้าหมายผ่านสมดุลชีวิต 3 มิติ
ส่วนที่ 3 : การบริหารความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่น :Collaborative Relationship
- เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญของทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- เรียนรู้กลไกป้องกันตนเอง (Protector mode) เมื่อโดนตัดสินและวิพากษ์วิจารณ์ ลดโหมดปกป้องเพื่อการอยู่ร่วมกัน ให้เกิดผลลัพธ์และความร่วมมือ
- ฝึกรับฟังเชิงลึก (Deep Listening) เพื่อความเข้าอกเข้าใจ เปิดใจ และค้นหาความต้องการที่แท้จริงของคู่สนทนา
- เรียนรู้ศิลปะการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- เรียนรู้ทักษะสำคัญในการสื่อสารและประสานงาน อันได้แก่ Request (การร้องขอ) Feedbacks (การสะท้อนเพื่อพัฒนา) และ Recognition (การชื่นชมและให้กำลังใจ)
ส่วนที่ 4 : การจัดการตัวเองภาคปฏิบัติ (Self-management in Practice )
- ความหมายและความสำคัญของ Self-Reflection Skills
- แนวทางการถอดบทเรียนกับตัวเองเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และเติบโต
- ทักษะการตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้
- เป้าหมาย 3 ระดับ และวิธีการในการค้นหาเป้าหมายที่มี่พลังเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง
- ทฤษฏี 5 ประสิทธิภาพการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ทำให้คนเก่งขึ้นได้
- การวางแผน Life Journey & Career Growth
- Advise Process กระบวนการปรึกษาหารือ ที่ช่วยสนับสนุนการจัดการตัวเองและการตัดสินใจร่วมกัน
- ตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการตัวเอง เช่น Growth Book , Self-Management Board
ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)
- มายด์เซ็ทใหม่ในการนำทีมในแบบการจัดการตัวเอง (Mindset for Self-Management)
- ทักษะสำคัญการจัดการตัวเองและนำทีมร่วมกัน ได้แก่ การเข้าใจในตัวเองอย่างลึกซึ้ง(Self-Awarenss) การตั้งคำถาม(Asking) การรับฟังเชิงลึก (Deep Listening) การคิดทบทวนและตกผลึก(Self-Reflection) การดูแลความมั่นคงภายในตัวเอง(Centering and Resilience) การให้และรับฟีดแบ็ก(Feedback) การร้องขอ(Request) เป็นต้น
- ความเข้าใจในกระบวนการจัดการตัวเอง และแนวปฏิบัติที่สำคัญของการจัดการตัวเอง (Self-Management in Practice)
- การประยุกต์การ Self-Management ไปปรับใช้จริงในการทำงานร่วมกันในองค์กร
กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)
โปรแกรมนี้ ถูกแบบเป็นโปรแกรม 2 วัน ที่เน้นการฝึกฝน
โดยปกติจะมี Option ในการจัดอบรม เป็น
Option 1 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน
Option 2 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน พร้อมติดตามผลจำนวน 1-2 ครั้งละ 0.5 วัน
Option 3 - ออกแบบเป็นโปรแกรมพัฒนาต่อเนื่อง (CLP - Continuous Learning Program) 3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน)
หรือ ถ้า องค์กรของคุณอยากมีข้อจำกัดเรื่องเวลา และทรัพยากรอื่นๆ สามารถออกแบบเป็น 1 วัน ได้
ซึ่งจำเป็นจะต้องลดความเข้มข้น หรือ อาจจะต้องเลือกลดบาง Practice ไปบ้าง แต่เรายังคงเน้นคุณภาพให้ได้มากที่สุด
ติดต่อขอรับคำปรึกษา เพื่อออกแบบ หรือวางแผนการจัดเวิร์คช็อป /หลักสูตร
Click >> https://www.excellentpeople-th.com/contact-us
สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya