Psychological Safety for High Performance Team
Creating Psychological Safety for High Performance Team
"People must feel safe to be honest about themselves and towards others. Only then can we use the strength of everyone and prevent people from doing things that don’t really know how to do or don’t want to do."
"ผู้คนต้องรู้สึกปลอดภัย จึงจะซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่นได้ มีเพียงตอนนั้นเท่านั้น ที่เราจะสามารถใช้จุดแข็งของเราทุกคนและสามารถป้องกันไม่ให้ผู้คน ทำสิ่งที่พวกเขาไม่ได้รู้วิธีที่จะทำมันจริงๆ หรือไม่ได้อยากที่จะทำมันจริงๆ "
Jos de Blok : CEO and Founder of Buurtzorg
หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)
เราคาดหวังที่เห็นทีมงานทุกคนได้แสดงศักยภาพ ความเป็นตัวเขาออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างสรรค์งานของเขาเองให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ตั้งใจ รวมถึงมีส่วนร่วมที่จะสร้างสรรค์และเรียนรู้สิ่งใหม่ไปด้วยกันกับทีม แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นอย่างนั้น นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการค้นคว้า ศึกษาวิจัย จนนำมาสู่การค้นพบเรื่อง "ความปลอดภัยทางจิตใจ" (Psychological Safety) ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งในวงการการศึกษา โลกการทำงาน หรือแม้กระทั่งครอบครัว งานวิจัยค้นพบว่า การที่ทุกคนจะเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) หรือในโลกการทำงานจะพูดถึงคำว่า Empower การที่เขารู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ มีพลังที่นำชีวิตตัวเอง พวกเขาจะต้องรู้สึกปลอดภัยจากภายในจิตใจ
มีการศึกษาวิจัยองค์กรและทีมที่มีผลงานสูง (High Performance Team) จำนวนไม่น้อย ต่างพบปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งที่ตรงกัน จากการสัมภาษณ์สมาชิกในทีม พวกเขาบอกเล่าว่ารู้สึกได้ว่าตัวเองมีอิสระ ได้รับความวางใจจากทีมอย่างเต็มที่ พวกเขาไม่รู้สึกหวั่นไหว หวั่นกลัวว่าจะมีใครสักคนที่ทำร้ายเขา แม้กระทั่งตอนที่เขารับ Feedback จากทีม เขายังสัมผัสได้ว่าทีมใส่ใจเขา มากกว่าที่จะพยายามกำจัดเขาออกไป ไม่เพียงแค่บรรยากาศที่เกิดขึ้นภายนอกหรือ ความปลอดภัยเชิงกายภาพเท่านั้น แต่มีหลายทีมที่พวกเขา บอกเล่าตรงกันว่า หัวใจสำคัญของการสร้างพื้นที่ปลอดภัยคือ การฝึกอบรมหรือเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้เรียนรู้เพื่อ “เข้าใจตัวเอง” ช่วยให้เขามองเห็นความกลัว(Fear) ความเปราะบางในจิตใจ (Vulnerability) และค่อยๆมอบความมั่นคงให้ตัวเองได้ เป็นการสร้างความปลอดภัยจากภายใน ซึ่งผู้นำทีมจะมีผลอย่างมากต่อการช่วยสร้างและอำนวยให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยกับทีมและสมาชิกแต่ละคน ทั้งการเป็นต้นแบบของวิถีและการทำหน้าที่เป็น โค้ช (Coach) และ ฟาซิลิเตเตอร์ (Facilitator) ที่ช่วยให้ทุกคนสร้างความปลอดภัยให้ตัวเองได้ (Psychological Safety)
หลักสูตร Psychological Safety@Work (Creating Psychological Safety for High Performance Team) จะเน้นสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่นำพาให้ผู้เรียน ได้เข้าไปสัมผัสประสบการณ์จริงของความรู้สึกปลอดภัยและไม่ปลอดภัย ให้ได้ลองสังเกต รับรู้กับสภาวะทั้งสองแบบนี้กับตัวเองและกลุ่ม พร้อมทั้งได้ลองฝึกฝนสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในฐานะผู้นำ ทั้งในบริบทของการสนทนาพูดคุยกัน และการสร้างสภาพแวดล้อม Event จริงในการทำงานให้รู้สึกถึงความปลอดภัยทางจิตใจ หลักสูตรนี้บูรณาการทั้งองค์ความรู้สำคัญและประสบการณ์จริงจากการสร้าง Safe Space ทั้งกับองค์กรลูกค้าและองค์กรของ Excellent People มาแบ่งปันและสร้างเป็นแบบฝึกหัด (Workshop)
แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้
โปรแกรมนี้ ใช้แกนความรู้สำคัญของ จิตวิทยาความปลอดภัย (Psychological Safety) ในเรื่องของสมอง (Brain based-learing) เป็นหัวใจของการทำความเข้าใจและตระหนักรู้ในสภาวะและประสบการณ์ที่เรารู้สึกปลอดภัยทางใจและไม่ปลอดภัยทางใจ ให้ทุกคนได้สัมผัสกันจริงๆ พร้อมกับการสร้างกิจกรรมเชิงประสบการณ์ให้ทุกคนได้ฝึกปฏิบัติร่วมกันในการสร้างความรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจต่อกัน เพื่อสร้างผลงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผ่านแกนความรู้ The 4 Stage of Psychological Safety ที่ใช้ในการออกแบบ Practice ให้ทุกคนสามารถนำสิ่งที่ได้ไปประยุกต์กับงานและการอยู่ร่วมกันได้จริง
- ให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางจิตใจต่อการสร้างทีม สร้างการเรียนรู้และสร้างผลงาน
- บ่มเพาะความเข้าใจและทักษะในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากภายใน (Psychological Safety) และการสร้างพื้นที่ปลอดภัยภายนอก (Hold Safe Space)
- ได้เห็นถึงความเชื่อมโยงและตัวอย่างจริงของจิตวิทยาความปลอดภัย กับการบริหารทีมงาน เพื่อสร้างการเรียนรู้ นวัตกรรม ผลงานและการเติบโต
- ริเริ่ม ออกแบบพื้นที่ปลอดภัย (Create Safe Space) เพื่อลองประยุกต์ไปใช้จริงในพื้นที่หรือกิจกรรมการทำงานจริงที่มีอยู่ในองค์กร (หรือสร้างเพิ่ม)
หลักสูตรนี้เน้น 3 ส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ ได้แก่ 1. การตระหนักรู้และเห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety) ผ่านกระบวนการโค้ชที่ให้ทุกคนได้สัมผัสผ่านประสบการณ์จริง 2. ปูความเข้าใจในเรื่อง ความปลอดภัยทางจิตใจ และการสร้างให้เกิดขึ้นจริงในที่ทำงาน (Theory and How to Create Psychological Safety@Work) และ 3. การร่วมกันทดลองสร้างจริงผ่านแบบฝึกหัดที่ออกแบบมาให้ผู้เรียนได้ลองร่วมสร้างความปลอดภัยให้กับตัวเองและกลุ่ม (Practice for Creating Psychological Safety )
- ความหมายและความสำคัญจิตวิทยาความปลอดภัย
- ลักษณะของทีมของทีมที่มี Psychological Safety
- จิตวิทยาความปลอดภัย กับ การสร้างผลงานทีม (4 Stages of Psychological Safety for High Performance Team)
- บทบาทและทักษะที่สำคัญของผู้นำในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
- ทฤษฎีสมอง 3 ส่วน กับการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
- "เมื่อเรารู้สึกไม่ปลอดภัย" วงจรกับดัก และการตระหนักรู้ในกลไกป้องกันตัว (Compulsive Cycle and Protection Mode)
- การสร้างความไว้วางใจและความปลอดภัย ด้วยการฟังด้วยความใส่ใจ (Empathic Listening for Build Trust)
- การดูแลความเปราะบาง และพลังงานของผู้นำ (Vulnerable and Leadership Energy)
- Fixed Mindset vs Growth Mindset จากมุมมองของจิตวิทยาความปลอดภัย
- Case Study , Practices ของการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการทำงาน
- จุดใส่ใจในการออกแบบและสร้างพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน
ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)
- การฟังเชิงลึก (Deep Listening)
- การสังเกตและตระหนักรู้ในสภาวะปลอดภัยและไม่ปลอดภัย (Observe and Self-Awareness)
- การตั้งแกนและดูแล สร้างความปลอดภัยให้ตัวเอง (Self-Empathy ad Resilience)
- การสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่สนับสนุนความปลอดภัย (Creating Safety Space)
กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)
โดยปกติโปรแกรมนี้จะมี Option ในการจัดอบรม เป็น
Option 1 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 1 วัน
Option 2 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน
Option 3 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน พร้อมติดตามผลจำนวน 1-2 ครั้งละ 0.5 วัน
** เราใช้กระบวนการและเครื่องมือจาก Team Psychological Safety มาใช้ประกอบการสร้างประสบการณ์เรียนรู้และ Practice ในคลาส
ติดต่อขอรับคำปรึกษา เพื่อออกแบบ หรือวางแผนการจัดเวิร์คช็อป /หลักสูตร
Click >> https://www.excellentpeople-th.com/contact-us
สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya