Leading Team Performance by CFR
ศิลปะการนำผลงานทีมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วย CFR
“ กระบวนการสนทนาที่มีคุณภาพ ที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง เรียนรู้และพัฒนาที่ไม่รู้จบ”
โปรแกรมนี้ตอบโจทย์อะไร (Why you needs this program)
เมื่อลักษณะการตั้งเป้าหมายเปลี่ยนไป กระบวนการบริหารผลงาน (Performance Management) ย่อมต้องเปลี่ยนตามไปด้วย จากเดิมที่ทำกันเป็นรายปี เน้นที่การมองผลลัพธ์สุดท้ายปลายทาง คล้ายการแจกโจทย์ให้คนทำงานแต่ละคนไปในช่วงต้นปี แล้วค่อยกลับมาเจอกันอีกทีตอนปลายปีเพื่อประเมินว่าใครบ้างที่วิ่งถึงเส้นชัย และใครบ้างที่ไม่ถึง ตอนนี้ ด้วยโลกที่เปลี่ยนไป องค์กรอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมคิด และปรับตัวให้ทัน แนวทางการบริหารผลงานจึงต้องเน้นไปที่ “การพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Performance Management)” ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้คนทำงานเกิดการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่ทำงานสำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีประสบการณ์และมีความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงเป็นกระบวนการที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่มีพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือ ช่วยกันมอง ช่วยกันคิดเพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนากลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ตลอดจนสนับสนุนกันในด้านของขวัญกำลังใจในการฝ่าฟันความท้าทายไปสู่เป้าหมาย
หัวใจสำคัญของการบริหารผลงานที่มีความต่อเนื่องซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นั้น จำเป็นจะต้องใช้ “การพูดคุยสนทนาที่มีคุณภาพ และสม่ำเสมอ” การพูดคุยที่มีคุณภาพที่เพียงพอจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และไอเดียในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า CFR (Conversation , Feedback ,Recognition) กระบวนการอันเรียบง่ายแต่ทรงพลัง ซึ่งประกอบไปด้วย การสนทนาที่มีคุณภาพ (GREAT Conversation) , การให้ฟีดแบ็กเพื่อการพัฒนา (Feed Forward) และ การชื่นชมให้พลังใจ (Recognition) CFR เป็นกระบวนการที่พัฒนามาจากพูดคุยที่ใช้การบริหารผลงานในทีมกีฬา ซึ่งเป็นต้นแบบกรณีศึกษาสำคัญในการสร้างผลงานที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กระบวนดังกล่าวยังมีการนำหลักทางจิตวิทยา ในแนวทางของไดอะล็อกและโค้ชชิ่งมาปรับใช้ทำให้กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการพูดคุยตามที่เข้าใจในแบบเดิม แต่เป็นการพูดคุยสนทนที่มีพลัง เอื้อให้มนุษย์ได้ใช้ศักยภาพที่แท้จริง ใช้ปัญญาร่วม (Collective Wisdom) มาสร้างสรรค์และพัฒนาองค์กรให้เติบโตยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ (Key Objectives)
จุดเน้นในโปรแกรมนี้มีอยู่ทั้งหมดสามส่วน หนึ่ง คือความเข้าใจในเชิงแนวคิดของกระบวนการ CFR การพูดคุยที่ดูเผินๆ อาจเป็นเรื่องเรียบง่าย แต่การจะทำให้การพูดคุยแต่ละครั้งมีคุณภาพ แท้จริงแล้วมีรายละเอียดสำคัญอะไรซ่อนอยู่บ้าง สอง คือการฝึกปฏิบัติทักษะสำคัญต่างๆ ทั้งในฐานะสมาชิก และผู้นำการสนทนา และสาม คือการออกแบบ และปรับประยุกต์ให้ CFR สามารถนำไปใช้ได้ในบริบทขององค์กรจริงได้ โดยหัวข้อการเรียนรู้ต่างๆ จะมีดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 : Principle to CFR (Conversation –Feedback- Recognition)
- ความหมายและความสำคัญของการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง กับโลกยุคปัจจุบัน
- CFR คืออะไร ทำไมถึงองค์กรต้องการ CFR (Conversation - Feedback - Recognition)
- CFR แตกต่างกับการสนทนาที่มีอยู่ ขององค์กรอย่างไร ?
- บทบาทหน้าที่ของผู้นำ กับการสร้างกระบวนการ CFR (CFR Facilitation)
- GREAT Concept กับกระบวนการ CFR
- CFR กับการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง , การสร้างนวัตกรรม , การสร้างวัฒนธรรม และการเรียนรู้
ส่วนที่ 2 : The Essential Skills for CFR (Conversation –Feedback- Recognition)
- 4 เฟส กับการสนทนาที่มีคุณภาพ
- วินัยสำคัญในการสนทนาที่มีคุณภาพ (Discipline of GREAT Conversation)
- ทักษะการฟังที่ลึกซึ้ง และการสะท้อน (Deep Listening & Reflection Skills)
- ฝึกฝนการตระหนักรู้และการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)
- ศิลปะการให้ฟีดแบ็กที่สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนา (Art of Giving Feedback for Growth)
- การชื่นชม 6 ช่องทาง เพื่อสร้างพลังสู่การเติบโต (Recognition)
ส่วนที่ 3 : CFR in Practices
- กระบวนการสำคัญของ CFR (Core Process of CFR)
- การตั้งโจทย์และสร้างกิจกรรม Check-in และ Check-out ที่ทรงพลัง
- เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการสร้างสรรค์
- ศิลปะการดูแลความเห็นต่าง และสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงกับความขัดแย้ง ให้เป็นการคิดร่วมที่สร้างสรรค์ (Creative Conflict Facilitation)
- การนำ CFR ไปใช้ในการสนทนาแบบกลุ่ม/ทีม Group Conversation
- การนำ CFR ไปใช้ในกิจกรรมการโค้ชแบบ 1-1 Coaching
- กิจกรรม Self Reflection หัวใจสำคัญของ CFR
- หัวใจสำคัญที่ทำให้ CFR เกิดผล และ หลุมพรางที่ทำให้ CFR ล้มเหลว
- ตัวอย่างเคส องค์กรที่ใช้ CFR จนเกิดผลจริงในองค์กร
- การออกแบบกระบวนการ CFR ให้เหมาะกับบริบทองค์กรของตน
- ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ประกอบกับ CFR เช่น Growth Book , Performance Check-in , Collaboration Board
ทักษะที่ได้รับการฝึกฝน (Essential Skills Development)
- ทักษะการสนทนา (การสนทนา , การให้และรับฟีดแบ็ก , การชื่นชม) และนำการสนทนาตามแนวทาง CFR
- ความเข้าใจในกระบวนการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Performance Management)
- การประยุกต์การ CFR กับการบริหารผลงาน การสร้างทีมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของทีม การสร้างนวัตกรรม (CFR in Practice)
กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)
ลงทะเบียนเข้าอบรม ได้ที่ https://shorturl.at/glCM8
สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya
นราวิช นาควิเวก
Co-Founder of Wiwathanakorn and New Work Academy
Organizational Evolution Facilitator / Consultant
นักพัฒนาองค์กรมากประสบการณ์ ผู้ที่สนใจ ศรัทธาในวิถีการพัฒนาองค์กรแนวใหม่ที่เน้นการทำงานร่วมกัน และการจัดการตัวเอง (Self-Management) ซึ่งเป็นระบบที่มีชีวิต (Living System) อ. นราวิทย์ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแนวทางการทำงานแนวใหม่ โดยศึกษาและนำเอาแนวทางนี้มาใช้ในการพัฒนาองค์กร ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งการทดลองใช้กับองค์กรตัวเองและกลุ่ม ซึ่งมีทั้ง 5 บริษัท ไปพร้อมกับการช่วยพัฒนาองค์กรภาคธุรกิจในการพัฒนาองค์กร มากกว่า 40 แห่ง (งานที่ปรึกษา) ได้แก่ กลุ่มเครือบริษัทอีซูซุ บริษัทโชติวัฒน์อุตสาหกรรม บริษัทอิมแพ็ค อารีน่า บริษัท KCL Corporation บริษัทผลิตภัณฑ์ตราเพชร บริษัทสมูทอี ฯลฯ อ..นราวิทย์ เชี่ยวชาญแนวทางการบริหารและนำทีมแบบใหม่ ด้วย กระบวนการ Transformative Learning และทักษะการ Facilitation , Coaching , Dialogue ซึ่งเป็น Soft Skills สำคัญในยุคปัจจุบัน
ภัทร กิตติมานนท์
Co-Founder of Wiwathanakorn and New Work Academy
ที่ปรึกษา วิวัฒนากร โค้ชผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยกระบวนการ Facilitation อ.ภัทร จะเน้นเป็นพิเศษในงานสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร นำพาให้องค์กรเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Growth Culture) รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงที่ช่วยบ่มเพาะชุมชนของ Facilitator และ Change Agent ในองค์กร อ.ภัทร สนใจแนวทางการทำงานแบบใหม่ และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง New Work Academy , The Reflection และ วิวัฒนากร ซึ่งเป็นองค์กรและ Community สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และการทำงานแนวใหม่ในเมืองไทย นอกจากนี้ อ.ภัทร เป็นหนึ่งในทีมผู้แปลหนังสือ Reinventing Organizations ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญเล่มหนึ่ง ในสายการพัฒนาองค์กร(OD) แห่งทศวรรษนี้ และร่วมเขียนหนังสือสำคัญหลายเล่ม เช่น Beyond Performance by CFR , วิชาเข้าใจคน ด้วยผู้นำสี่ทิศและ Me,Myself 12 ตัวตน
ลัญชกร คำศรี
Co-Founder of New Work Academy
Organizational Evolution Facilitator
อ.ปั้ม มีประสบการณ์ทำงานด้านการพัฒนา เปลี่ยนแปลง และให้คำปรึกษาในสายงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HR Practices) และงานพัฒนาระบบบริหารผลงาน (Performance Management Practices) โดยมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกับแรงจูงใจภายใน (Inner Drive) เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหมายที่สะท้อนคุณค่าในระดับบุคคลและองค์กร (Healthy Performance & Organization) อ.ปั้ม มีความเชื่อว่า การเติบโตในหน้าที่การเงินของผู้คน ไม่ใช่แค่การได้มีตำแหน่งหน้าที่ ผลตอบแทน หรือความรู้ความสามารถ (Hard Side) ที่มากขึ้น ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้นเพียงเท่านั้น หากแต่การได้พัฒนาโลกภายในจิตใจ เจตคติ และวุฒิภาวะของความเป็นมนุษย์ (Soft Side) ของเราให้อยู่ในสุขภาวะที่สมดุล (Balanced & Well-being) ก็มีความสำคัญที่ไม่แพ้กัน