EMPATHIC COMMUNICATION AT WORK - ศิลปะการสื่อสารอย่างเข้าใจ
โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบ่มเพาะทักษะพื้นฐานของการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่แท้จริงในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้เรียนได้สร้างบทสนทนาที่มีคุณภาพร่วมกัน ผ่านหลักสำคัญของการสร้างกระบวนการสื่อสารที่นำไปสู่ความเข้าใจที่แท้จริง (Empathic Communication) ตั้งแต่ การเข้าใจในตัวตนและธรรมชาติของตัวเราและผู้อื่น, การสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety) และที่สำคัญก็คือ การฟังเชิงลึกด้วย Empathic Listening และการสื่อสารเชิงบวก (Positive Conversation) ในบริบทต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงที่ทำให้เกิดการสื่อสารที่มีคุณภาพในองค์กร และเปิดพื้นที่ให้สมาชิกทุกคนได้มี “เสียง” ให้พวกเขาสามารถส่งเสียงของความรู้สึก (Feeling) และความต้องการที่แท้จริง (Needs) ของตนออกมาได้เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ ช่วยกันดูแล และใช้เป็นสะพานที่ทำให้เกิดความเข้าใจกันอย่างแท้จริง บนโลกที่มีความสลับซับซ้อนนี้ (Complexity)
ส่วนที่ 1 – สิ่งที่เราจะฝึกฝนกันในประสบการณ์ 3 วัน เราทำอะไรบ้าง?
โปรแกรมนี้จะฝึกฝนทั้งหมด 3 วัน แบบเจอตัว และติดตามผลทาง Zoom อีก 1 ครั้ง
โดยการฝึกฝนทั้ง 3 วัน แบ่งเป็น
วันที่ 1 : Experiential Learning สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตร Original
เป็นการสัมผัสประสบการณ์จริงของคลาส Empathic Communication@Work ในฉบับ 1 วัน โดยจะเรียนไป ถอดบทเรียน ไปในแต่ละช่วง เพื่อให้สัมผัสประสบการณ์ทั้งในมุมของการเป็นผู้เข้าร่วม และได้เข้าใจรายละเอียดในมุมของการทำหน้าที่ Facilitator
เบรค 1 : Empathetic Listening
ปักหมุดความหมายและความสำคัญของการสื่อสารอย่างเข้าใจ Empathy
และเริ่มฝึกฝนทักษะที่สำคัญ คือ การฟังและการสะท้อน (Empathic Listening and Reflection)
โดยเชิญชวนให้ฟังผ่าน 4 ใส่ใจในการฟัง "สนใจ - สังเกต - อนุญาต - รอได้" (Attention-Observation-Permission-Slow & Slience)
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- การ์ดคุณสมบัติ ตอบคำถาม “ฉันคือใคร”
- สำรวจอารมณ์ 4 แบบ ผ่านเครื่องมือ Mood Meter
- สำรวจโจทย์ทบทวนตัวเองในมุมต่างๆ
เบรค 2 : People Insight
ความเข้าใจคนเชิงลึก ความเป็นตัวตนที่หลากหลาย ส่งผลอย่างไรต่อการสื่อสาร
เริ่มเข้ามาเรียนรู้ในระดับโครงสร้างทางจิตวิทยาของมนุษย์
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- เรียนรู้ความหลากหลายผ่านศาสตร์ผู้นำ 4 ทิศ
- เรียนรู้เบื้องหลังพฤติกรรมด้วย Iceberg Model
- กิจกรรม Life Journey
- อาหารใจ 10 หมู่
เบรค 3 : Psychological Safety
เรียนรู้การทำงานของสมองกับการสื่อสาร ความรู้สึกปลอดภัย และการปกป้องตัวเอง
ซึ่งมีผลต่อคุณภาพการสื่อสาร
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- กับดักการฟัง 4 แบบ
- โหมดปกป้อง 4 ลักษณะ อุปสรรคต่อการสื่อสารด้วยความเข้าใจ
- ท่าที การสื่อสารที่ทำลายความร่วมมือ
เบรค 4 : Empathetic Communication @ Work
การสื่อสารที่ช่วยสร้างพลัง และส่งเสริมความร่วมมือ, ร่วมสร้างวิถีการสื่อสารในทีมเพื่อต่อยอดสู่การทำงานร่วมกัน
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- 6 ช่องทางในการชื่นชม
- แบบฝึกหัดการขอบคุณ ชื่นชม
- Collaboration Context ออกแบบบวิถีการทำงานร่วมกันในบริบทสำคัญในการทำงาน
วันที่ 2 และ 3 : Facilitation Lab
ทดลองการปฏิบัติจริงในการนำกระบวนการเรียนรู้ โดย จะแบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 – Facilitation Technique (2 ชม.) เรียนรู้ และติวอย่างเข้มข้น ถึงศิลปะการนำกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างการมีส่วนร่วม และการออกแบบประสบการณ์
ช่วงที่ 2 – Facilitation Design ( 1 ชั่วโมง) ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประยุกต์สิ่งที่สนใจเข้ากับงานจริง โดยจะให้แต่ละองค์กรได้ลองนำกระบวนการเรียนรู้ องค์กรละ 1 เบรก
ช่วงที่ 3 – Facilitation Playwork (1.5 วัน) ให้แต่ละองค์กรนำกระบวนการจริง โดยมีให้เพื่อนสมาชิกและทีมพี่เลี้ยง เข้าร่วม ทีมละ 1.5 ชั่วโมง พร้อมรับคำแนะนำ และฟีดแบ็กเพิ่มเติม
หลังจบกิจกรรม 3 วัน เราจะมีการติดตามผลอีก 1 ครั้ง (ทุกคนสามารถสอบถาม ปรึกษา ทีมพี่เลี้ยงได้เป็นระยะ) ผ่านทาง Zoom Meeting โดยจะกลับมาเจอกันหลังเว้นไป 1 เดือน
ส่วนที่ 2 –โครงสร้างของหลักสูตรที่เราฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ในการสอน หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร (Course Outline)
" หาคนที่เชื่อ ที่มีความฝันคล้ายกัน มาร่วมเดินทางและเติบโตไปด้วยกันกับ(องค์กร)เรา" ด้วยกระบวนการที่ทำให้เรารู้จักเขาได้ถึงตัวตนในเบื้องลึก
หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)
ในโลกยุคใหม่ เราต่างตระหนักว่า การนำทีม สร้างทีมแบบที่เราคุ้นเคย ที่มีผู้นำที่คอยกำกับ สั่งการ ควบคุม ดูจะใช้ไม่ค่อยได้จริงแล้ว กับยุคสมัยปัจจุบันที่ผู้คนต้องการการมีส่วนร่วม รวมถึงการก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ภัยคุกคามและความผันผวนที่ไม่แน่นอน เราต้องการความร่วมไม้ร่วมมือ การร่วมกันทำงาน ขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างมีพลัง ภาพของผู้นำในยุคสมัยใหม่ จึงไม่ใช่แม่ทัพที่เก่งรบ แต่เขาต้องเป็นผู้นำ ที่นำพาให้สมาชิกของทีมทุกคนได้รู้สึกร่วม อินไปกับเป้าหมาย ความสำเร็จร่วม เขาต้องสามารถหลอมรวมทีมที่มีความแตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียว ดั่งทีมฟุตบอลที่กันด้วยความเป็นทีมเวิร์ค
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “การสื่อสาร” คือทักษะพื้นฐานที่ผู้นำจำเป็นต้องใช้อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อเป็นผู้นำในองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างทีม การสร้างวัฒนธรรม และการสร้างคน ในองค์กรที่เริ่มตระหนักว่าคนที่มีความสามารถเพียงไม่กี่คนคงไม่สามารถนำพาองค์กรทั้งองค์กรไปได้ ในองค์กรที่เริ่มสนใจเปลี่ยนบทบาทของผู้นำจากความเป็น “ผู้สั่งการ” มาเป็น “ผู้หล่อเลี้ยง หรือโค้ช หรือฟา” ทักษะ “การสื่อสาร” จะยิ่งกลายเป็นทักษะสำคัญที่ผู้นำควรมีโอกาสได้ฝึกฝนอย่างเข้มข้น
โปรแกรม Empathic Communication@Work คือ โปรแกรมฝึกฝนการสื่อสารในมิติต่างๆ ที่ออกแบบมาสำหรับผู้นำโดยเฉพาะ เป็นทักษะและกระบวนการในการสร้างและนำทีม แนวใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมที่แท้สมบูรณ์ ซึ่งโปรแกรมนี้จะฝึกให้เหล่าผู้นำได้เรียนรู้ การเข้าใจตัวเองและผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง ผ่านการ รับฟังเชิงลึก (Empathic Listening) , การตระหนักรู้ในตนเองและการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ (Self-Awareness & Psychological Safety) ,การตั้งคำถามและสะท้อนกลับ (Asking and Reflection) รวมถึงกระบวนการของการสื่อสาร การสนทนา หรือสร้างบรรยากาศการทำงานที่ช่วยให้ทีมรู้สึกไว้วางใจ (Trust) , ได้มีอิสระและมีส่วนร่วม (Empower and Engage) และได้เรียนรู้ร่วมกันในทีม (Team Learning) ซึ่งทั้งหมดจะชวนอย่างมากในการสร้างทีมที่แข็งแกร่งและการพัฒนาผลงานที่ดีขึ้นอยู่เสมอได้
แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้
ใช้โมเดลนี้ เป็นแกนของการสร้างกระบวนการและประสบการณ์การเรียนรู้ในคลาสนี้ โดยเน้นให้สมาชิกทุกคน ตระหนักและเข้าใจถึงคุณภาพและจุดที่ต้องใส่ใจในการสื่อสารอย่างเข้าใจ โดยประยุกต์ใช้หลักการสื่อสารอย่างเข้าใจ อันได้แก่ NVC (Non Violent Communication) , Theory U และ Satir เข้าด้วยกันจากประสบการณ์การใช้งานจริงกับองค์กรเราและองค์กรลูกค้าที่ทำต่อเนื่อง ซึ่งโปรแกรมจะเน้น 1. การรับฟังด้วยรหัส 4-4-4 for Empathic Listening และ 3 จุดสำคัญที่ต้องใส่ใจในการสื่อสาร ได้แก่ การเข้าใจตัวเรา การเข้าใจผู้อื่น และบริบทของการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเข้าใจกันและสร้างความรู้สึกปลอดภัย มั่นคงเพียงพอที่พูดคุยกัน รวมถึงเน้นการฝึกฝนให้สมาชิกทุกคนได้ดูแลคุณภาพการสนทนาร่วมกันและสื่อสารในเชิง Practice ให้เกิดความเข้าใจกันจริง ในบริบทของงาน และการมีความต้องการที่หลากหลาย หรือ ความขัดแย้ง เห็นไม่ตรงกัน
- ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้คน “เปิดใจ” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสื่อสาร ผ่านองค์ความรู้ทางสมอง จิตวิทยา โดยเฉพาะบทเรียนเกี่ยวกับความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ
- ผู้เรียนเกิดทักษะใหม่ในการสื่อสารเชิงบวก ทั้งการฟังอย่างลึกซึ้ง การตั้งคำถาม การสะท้อน และการสื่อสารความจริงอย่างมีเยื่อใย
- ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความแตกต่างและเบื้องหลังพฤติกรรมของผู้คนมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับการสื่อสารให้มีความละเอียดอ่อน สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่สร้างสรรค์
- ยกระดับและพัฒนาวัฒนธรรมและการสื่อสารภายในองค์กร ให้เกิดความเข้าใจและเกิดบรรยากาศของการทำงานร่วมกันที่นำไปสู่การเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ พัฒนาองค์กรไปด้วยกัน
ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)
ในโปรแกรมนี้เราจะเน้น 3 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนแรก คือ การสร้างการตระหนักรู้ในบทบาทของผู้นำกับการสื่อสาร ส่วนที่ 2 เน้นการฝึกฝน ติดตั้งทักษะการสื่อสารเพื่อความเข้าใจ ทั้งพื้นฐานของการทำความเข้าใจมนุษย์เชิงลึก ผ่านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) การรับฟังเชิงลึก (Active Listening) และการสื่อสารที่มีคุณภาพ และส่วนสุดท้าย คือ การนำไปใช้งานจริง (Empathic Communication in Application) การจำลองการฝึกที่นำโจทย์จริงมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานได้
- กระบวนทัศน์ใหม่ของการนำทีม ที่เน้นการสร้างความมีส่วนร่วมที่สมบูรณ์ (New Management Paradigm for Leading Team)
- ความหมายและความสำคัญของ Empathic Communication ในโลกยุคดิจิตัล
- บทบาทของผู้นำกับการสื่อสารที่ดี (Leader as a Good Communicator)
- เข้าใจความแตกต่างของคนที่หลากหลายด้วยแนวคิดของผู้นำสี่ทิศ (เรียนรู้ที่มา และกรอบความเชื่อ คุณค่า ความคาดหวังและความแตกต่างของคนแต่ละทิศ )
- แนวทางการสื่อสารและการดูแลกัน ทำงานร่วมกันบนความหลากหลาย แตกต่าง
- สมองสามชั้น กับการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการตระหนักรู้ในโหมดปกป้อง กลไกการป้องกันตัว เมื่อไม่ปลอดภัย
- ความสำคัญของพื้นที่ปลอดภัยและแนวทางการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
- ช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการรับรู้ (สีหน้า ท่าทาง , น้ำเสียง และ ถ้อยคำ)
- โหมดปกป้อง กลไกการป้องกันตัว เมื่อไม่ปลอดภัย
- 4-4-4 CODE FOR EMPATHIC LISTENING
- การฟังอย่างเข้าถึงเจตนาเพื่อข้ามพ้นความขัดแย้ง
- การสื่อสารอย่างเข้าใจและสร้างความร่วมมือ (Emphatic Communication) ตามแนวทางของ Non Violent Communication
- ช่องทางและศิลปะการชื่นชม มองเห็นกันและกัน (The Art of Recognition)
- 4 คุณภาพของการสนทนา และแนวทางการสร้างการสนทนาที่สร้างสรรค์
- การสร้างวิถีการสื่อสาร Empathic Communication ในองค์กรให้เกิดเป็นวัฒนธรรม
ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)
- การเข้าใจคนเชิงลึกและเรียนรู้ความแตกต่าง หลากหลาย (People Insight)
- ทักษะการฟังด้วยความเข้าใจ แบบ Empathic Listening
- ทักษะการคิดใคร่ครวญและเรียนรู้เชิงลึก (Reflection Skills)
- ทักษะการสังเกตและตระหนักรู้ในสภาวะปลอดภัยและไม่ปลอดภัย (Observe and Self-Awareness)
- การตั้งแกนและดูแล สร้างความปลอดภัยให้ตัวเอง (Self-Empathy ad Resilience)
- การสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่สนับสนุนความปลอดภัย (Creating Safety Space)
- การสื่อสารที่สร้างความร่วมมืออย่างเต็มใจ (Collaborative Communication)