Empathic Communication
ศิลปะการสื่อสาร เพื่อการทำงานร่วมกันด้วยความเข้าใจ
“ฟังด้วยความเข้าใจ ให้ถึงความต้องการ
สื่อสารด้วยความตรงไปตรงมา และสร้างสรรค์”
โปรแกรมนี้ตอบโจทย์อะไร (Why you needs this program)
ในโลกยุคใหม่ เราต่างตระหนักว่า การนำทีม สร้างทีมแบบที่เราคุ้นเคย ที่มีผู้นำที่คอยกำกับ สั่งการ ควบคุม ดูจะใช้ไม่ค่อยได้จริงแล้ว กับยุคสมัยปัจจุบันที่ผู้คนต้องการการมีส่วนร่วม รวมถึงการก้าวทันความเปลี่ยนแปลง ภัยคุกคามและความผันผวนที่ไม่แน่นอน เราต้องการความร่วมไม้ร่วมมือ การร่วมกันทำงาน ขับเคลื่อนไปด้วยกันอย่างมีพลัง ภาพของผู้นำในยุคสมัยใหม่ จึงไม่ใช่แม่ทัพที่เก่งรบ แต่เขาต้องเป็นผู้นำ ที่นำพาให้สมาชิกของทีมทุกคนได้รู้สึกร่วม อินไปกับเป้าหมาย ความสำเร็จร่วม เขาต้องสามารถหลอมรวมทีมที่มีความแตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียว ดั่งทีมฟุตบอลที่กันด้วยความเป็นทีมเวิร์ค
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “การสื่อสาร” คือทักษะพื้นฐานที่ผู้นำจำเป็นต้องใช้อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อเป็นผู้นำในองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างทีม การสร้างวัฒนธรรม และการสร้างคน ในองค์กรที่เริ่มตระหนักว่าคนที่มีความสามารถเพียงไม่กี่คนคงไม่สามารถนำพาองค์กรทั้งองค์กรไปได้ ในองค์กรที่เริ่มสนใจเปลี่ยนบทบาทของผู้นำจากความเป็น “ผู้สั่งการ” มาเป็น “ผู้หล่อเลี้ยง หรือโค้ช หรือฟา” ทักษะ “การสื่อสาร” จะยิ่งกลายเป็นทักษะสำคัญที่ผู้นำควรมีโอกาสได้ฝึกฝนอย่างเข้มข้น
โปรแกรม Empathic Communication คือ โปรแกรมฝึกฝนการสื่อสารในมิติต่างๆ ที่ออกแบบมาสำหรับผู้นำโดยเฉพาะ เป็นทักษะและกระบวนการในการสร้างและนำทีม แนวใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมที่แท้สมบูรณ์ ซึ่งโปรแกรมนี้จะฝึกให้เหล่าผู้นำได้เรียนรู้ การเข้าใจตัวเองและผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง ผ่านการ รับฟังเชิงลึก (Empathic Listening) และสะท้อนกลับ (Asking and Reflection) , การตระหนักรู้ในตนเองและการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ (Self-Awareness & Psychological Safety) และกระบวนการของการสื่อสาร การสนทนา หรือสร้างบรรยากาศการทำงานที่ช่วยให้ทีมรู้สึกไว้วางใจ (Trust) ซึ่งทั้งหมดจะชวนอย่างมากในการสร้างทีมที่แข็งแกร่งและการพัฒนาผลงานที่ดีขึ้นอยู่เสมอได้
วัตถุประสงค์และความตั้งใจหลัก (Key Objectives)
พวกเรา (Excellent People และทีมวิวัฒนากร) มีความเชื่อ และใช้หลักของ 5 behavior princoples of cohensive leadership ซึ่งให้ความสำคัญกับฐานของการสร้างทีมที่เป็นปึกแผ่น จากการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust) และการเรียนรู้ ดูแลความขัดแย้ง แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ (Creative Conflict) ซึ่งทั้งสองเป็นเรื่องที่ต้องใช้ “การสื่อสารและความเข้าใจ” เป็นสำคัญ เราไม่เพียงแค่ฝึกฟังแค่เพื่อฟัง รับรู้โลกข้างนอก แต่เราจะต้องใช้เพื่อ “เชื่อมโยง สัมพันธ์กัน” โปรแกรมนี้ จึงจะเน้นชวนผู้เรียนทำงานกับ สองเรื่องในส่วนฐานนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างทีมที่ไว้วางใจต่อกัน กล้าที่จะพูด กล้าที่จะเห็นต่าง คุยกันด้วยความสร้างสรรค์บนพื้นฐานของจุดร่วม ความต้องการที่มีร่วมกัน
พวกเราใช้โมเดลนี้ เป็นแกนของการสร้างกระบวนการและประสบการณ์การเรียนรู้ในคลาสนี้ โดยเน้นให้สมาชิกทุกคน ตระหนักและเข้าใจถึงคุณภาพและจุดที่ต้องใส่ใจในการสื่อสารอย่างเข้าใจ โดยประยุกต์ใช้หลักการสื่อสารอย่างเข้าใจ อันได้แก่ NVC (Non Violent Communication) , Theory U และ Satir เข้าด้วยกันจากประสบการณ์การใช้งานจริงกับองค์กรเราและองค์กรลูกค้าที่ทำต่อเนื่อง ซึ่งโปรแกรมจะเน้น 1. การรับฟังด้วยรหัส 4-4-4 for Empathic Listening และ 3 จุดสำคัญที่ต้องใส่ใจในการสื่อสาร ได้แก่ การเข้าใจตัวเรา การเข้าใจผู้อื่น และบริบทของการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเข้าใจกันและสร้างความรู้สึกปลอดภัย มั่นคงเพียงพอที่พูดคุยกัน รวมถึงเน้นการฝึกฝนให้สมาชิกทุกคนได้ดูแลคุณภาพการสนทนาร่วมกันและสื่อสารในเชิง Practice ให้เกิดความเข้าใจกันจริง ในบริบทของงาน และการมีความต้องการที่หลากหลาย หรือ ความขัดแย้ง เห็นไม่ตรงกัน
ในโปรแกรมนี้เราจะเน้น 3 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนแรก คือ การสร้างการตระหนักรู้ในบทบาทของผู้นำกับการสื่อสาร ส่วนที่ 2 เน้นการฝึกฝน ติดตั้งทักษะการสื่อสารเพื่อความเข้าใจ ทั้งพื้นฐานของการทำความเข้าใจมนุษย์เชิงลึก ผ่านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) การรับฟังเชิงลึก (Deep Listening) และการสื่อสารที่มีคุณภาพ และการตั้งคำถาม และส่วนสุดท้าย คือ การนำไปใช้งานจริง (Empathic Communication in Application) การจำลองการฝึกที่นำโจทย์จริงมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานได้
- กระบวนทัศน์ใหม่ของการนำทีม ที่เน้นการสร้างความมีส่วนร่วมที่สมบูรณ์ (New Management Paradigm for Leading Team)
- ความหมายและความสำคัญของ Empathic Communication ในโลกยุคดิจิตัล
- บทบาทของผู้นำกับการสื่อสารที่ดี (Leader as a Good Communicator)
- 4 ท่าที และอำนาจ 3 แบบ ในการสื่อสารที่ผู้นำ ต้องตระหนักรู้
- เข้าใจความแตกต่างของคนที่หลากหลายด้วยแนวคิดของผู้นำสี่ทิศ (เรียนรู้ที่มา และกรอบความเชื่อ คุณค่า ความคาดหวังและความแตกต่างของคนแต่ละทิศ )
- แนวทางการสื่อสารและการดูแลกัน ทำงานร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย
- สมองสามชั้น กับการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการตระหนักรู้ในโหมดปกป้อง กลไกการป้องกันตัว เมื่อไม่ปลอดภัย
- ความสำคัญของพื้นที่ปลอดภัยและแนวทางการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
- ช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการรับรู้ (สีหน้า ท่าทาง , น้ำเสียง และ ถ้อยคำ)
- 4-4-4 CODE FOR EMPATHIC LISTENING
- 4 คุณภาพการฟัง
- 4 กับดักการฟัง
- 4 จุดสนใจ เมื่อเรารับฟัง
- การฟังอย่างเข้าถึงเจตนาเพื่อข้ามพ้นความขัดแย้ง
- การสื่อสารอย่างเข้าใจและสร้างความร่วมมือ (Emphatic Communication) ตามแนวทางของ Non Violent Communication
- ช่องทางและศิลปะการชื่นชม มองเห็นกันและกัน (The Art of Recognition)
- การสร้างวิถีการสื่อสาร Empathic Communication ในองค์กรให้เกิดเป็นวัฒนธรรม
ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)
- การเข้าใจคนเชิงลึกและเรียนรู้ความแตกต่าง หลากหลาย (People Insight)
- ทักษะการฟังด้วยความเข้าใจ แบบ Empathic Listening
- ทักษะการคิดใคร่ครวญและเรียนรู้เชิงลึก (Reflection Skills)
- ทักษะการสังเกตและตระหนักรู้ในสภาวะปลอดภัยและไม่ปลอดภัย (Observe and Self-Awareness)
- การตั้งแกนและดูแล สร้างความปลอดภัยให้ตัวเอง (Self-Empathy ad Resilience)
- การสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่สนับสนุนความปลอดภัย (Creating Safety Space)
- การสื่อสารที่สร้างความร่วมมืออย่างเต็มใจ (Collaborative Communication)
กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)
ลงทะเบียนเข้าอบรม ได้ที่ https://shorturl.at/glCM8
สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya
นราวิช นาควิเวก
Co-Founder of Wiwathanakorn and New Work Academy
Organizational Evolution Facilitator / Consultant
นักพัฒนาองค์กรมากประสบการณ์ ผู้ที่สนใจ ศรัทธาในวิถีการพัฒนาองค์กรแนวใหม่ที่เน้นการทำงานร่วมกัน และการจัดการตัวเอง (Self-Management) ซึ่งเป็นระบบที่มีชีวิต (Living System) อ. นราวิทย์ เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแนวทางการทำงานแนวใหม่ โดยศึกษาและนำเอาแนวทางนี้มาใช้ในการพัฒนาองค์กร ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งการทดลองใช้กับองค์กรตัวเองและกลุ่ม ซึ่งมีทั้ง 5 บริษัท ไปพร้อมกับการช่วยพัฒนาองค์กรภาคธุรกิจในการพัฒนาองค์กร มากกว่า 40 แห่ง (งานที่ปรึกษา) ได้แก่ กลุ่มเครือบริษัทอีซูซุ บริษัทโชติวัฒน์อุตสาหกรรม บริษัทอิมแพ็ค อารีน่า บริษัท KCL Corporation บริษัทผลิตภัณฑ์ตราเพชร บริษัทสมูทอี ฯลฯ อ..นราวิทย์ เชี่ยวชาญแนวทางการบริหารและนำทีมแบบใหม่ ด้วย กระบวนการ Transformative Learning และทักษะการ Facilitation , Coaching , Dialogue ซึ่งเป็น Soft Skills สำคัญในยุคปัจจุบัน
ภัทร กิตติมานนท์
Co-Founder of Wiwathanakorn and New Work Academy
ที่ปรึกษา วิวัฒนากร โค้ชผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยกระบวนการ Facilitation อ.ภัทร จะเน้นเป็นพิเศษในงานสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร นำพาให้องค์กรเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Growth Culture) รวมถึงเป็นพี่เลี้ยงที่ช่วยบ่มเพาะชุมชนของ Facilitator และ Change Agent ในองค์กร อ.ภัทร สนใจแนวทางการทำงานแบบใหม่ และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง New Work Academy , The Reflection และ วิวัฒนากร ซึ่งเป็นองค์กรและ Community สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และการทำงานแนวใหม่ในเมืองไทย นอกจากนี้ อ.ภัทร เป็นหนึ่งในทีมผู้แปลหนังสือ Reinventing Organizations ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญเล่มหนึ่ง ในสายการพัฒนาองค์กร(OD) แห่งทศวรรษนี้ และร่วมเขียนหนังสือสำคัญหลายเล่ม เช่น Beyond Performance by CFR , วิชาเข้าใจคน ด้วยผู้นำสี่ทิศและ Me,Myself 12 ตัวตน