Conflict Transformational

ศิลปะการคลี่คลายความขัดแย้งสู่การสร้างความร่วมมือ สำหรับผู้นำ

 “ แปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง สู่ความร่วมมือที่ทรงพลังและสร้างสรรค์ ”

 

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

องค์กรหรือทีมของคุณเจอปัญหากวนใจ แบบนี้บ้างไหม ?

  • มีปัญหาที่ถูกซุกซ่อน เก็บงำ ปกปิดไว้ เพราะกลัวความผิด ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
  • การพูดคุยภายในทีม/องค์กร เป็นดั่งสงคราม มีการถกเถียง ไม่ฟังกัน มีความขัดแย้ง
  • มีการแบ่งก๊ก แบ่งฝ่าย พวกฉัน พวกเธอ เกิดขึ้น การทำงานมีรอยแยก
  • ความแตกต่างระหว่างเจน (Generation) ส่งผลกับการทำงาน
  • ชนชั้นทางการปกครอง การบริหารมีความเหลื่อมล้ำ สมาชิกระดับล่างไม่กล้าออกเสียง
  • ฯลฯ

เรารู้ดีอยู่แก่ใจ ว่าทีมหรือองค์กรที่แข็งแรงนั้นจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียว  แต่กับความเป็นจริงที่เรามักจะเจอ คือ การทำงานในองค์กร(แบบเดิม) ล้วนเต็มไปด้วยเส้นแบ่ง ทั้งชนชั้น ลำดับขั้น การแบ่งฝ่ายแบ่งแผนก รวมถึงวิถีการบริหารจัดการที่เน้นการควบคุม ตรวจวัด ซึ่งส่งผลให้คนทำงานยิ่งต้องเอาตัวรอด  นอกจากแนวทางการบริหาร เรายังมีความแตกต่างกันอยู่เป็นทุนเดิมอยู่จากการเติบโตกันคนละครอบครัว ถิ่นฐาน การเลี้ยงดู ทั้งหมดล้วนคือ ความแตกต่างที่เราต้องยอมรับ  ทั้งหมดที่กล่าวส่งผลให้เกิด “ความขัดแย้ง” (Conflict) เกิดขึ้นในองค์กร  บรรยากาศการทำงานที่บีบคั้นให้ที่หลายคนต้องเอาตัวรอด นำไปสู่รอยร้าว เส้นแบ่ง และการเก็บงำปัญหาต่างๆ ที่ขวางกั้นการเจริญเติบโตขององค์กร

ในวิกฤติย่อมมีโอกาสที่ดีรออยู่เสมอ “ความขัดแย้ง” คือ สัญญาณสำคัญที่กำลังเชื้อเชิญให้องค์กร หรือ ทีมงาน ให้ก้าวไปสู่อีกขั้นของการพัฒนา หากได้นำสิ่งที่ถูกซ่อนมาพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ และหาโอกาสแปลงเปลี่ยนสิ่งนั้นมาสู่ความร่วมมือที่มี ”พลังร่วม”   ทักษะและบทบาทหนึ่งที่สำคัญของ “ผู้นำยุคใหม่” จึงต้องสามารถที่จะดูแล คลี่คลายความขัดแย้งให้ได้  หลักสูตร “ศิลปะการคลี่คลายความขัดแย้งสู่การสร้างความร่วมมือ สำหรับผู้นำ” (Conflict Transformational for Leader ) เป็นวิชาสำคัญที่จะช่วยฝึกฝน ติดอาวุธให้ผู้นำยุคใหม่สามารถรับมือและดูแลความขัดแย้ง ความเห็นที่แตกต่างในทีม ไปสู่การ ”ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์” (Creative Conflict) ซึ่งนำไปสู่ทางออกแห่งการพัฒนาทีมและองค์กร ให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

ในงานดูแลความสัมพันธ์ของทีมเราใช้โมเดลของ The Five Behaviors of A Cohesive Team เป็นแกนสำคัญของการดำเนินประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งให้ความสำคัญกับฐานของการสร้างทีมที่เป็นปึกแผ่น จากการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trust)  และการเรียนรู้ ดูแลความขัดแย้ง แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ (Creative Conflict)  ซึ่งทั้งสองเป็นเรื่องที่ต้องใช้ “การสื่อสารและความเข้าใจ” เป็นสำคัญ  เราไม่เพียงแค่ฝึกฟังแค่เพื่อฟัง รับรู้โลกข้างนอก แต่เราจะต้องใช้เพื่อ “เชื่อมโยง สัมพันธ์กัน”  โปรแกรมนี้ จึงจะเน้นชวนผู้เรียนทำงานกับ สองเรื่องในส่วนฐานนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างทีมที่ไว้วางใจต่อกัน กล้าที่จะพูด กล้าที่จะเห็นต่าง คุยกันด้วยความสร้างสรรค์บนพื้นฐานของจุดร่วม ความต้องการที่มีร่วมกัน     โดยในโปรแกรมนี้เราจะใช้กระบวนการและองค์ความรุ้สำคัญของ NVC - Non Violent Communication และ Process Work  เป็นแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนร่วมกัน 

 
วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
  1. สร้างความเข้าใจและ Mindset ที่มีต่อความขัดแย้งในมุมมองใหม่ ให้เห็นโอกาสของการพัฒนาทีมและองค์กร ที่ซ่อนอยู่ในเบื้องหลังของความขัดแย้ง
  2. ได้ตระหนักรู้และเห็นสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดในระดับหยั่งลึก ซึ่งเกิดจากภายในในระดับบุคคล
  3. ให้ผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์ตรงของการคลี่คลาย ดูแลความขัดแย้งทั้งระดับบุคคล ระดับกลุ่ม ได้ฝึกฝนและเกิดทักษะใหม่ที่นำไปดูแลความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันในทีมอย่างสร้างสรรค์
  4. ร่วมสร้างและเกิดวิถีการทำงาน รวมถึงระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ช่วยคลี่คลาย ดูแลความขัดแย้งในทีมและองค์กร ที่เป็นระบบ และเกื้อกูลให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

 

 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

การคลี่คลายและแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง ไปสู่ความร่วมมือที่ทรงพลัง เป็นกระบวนการที่มีความละเอียดและมีจุดที่ต้องใส่ใจมาก  การที่ผู้นำทีมจะสามารถเข้าใจเรื่องนี้และสามารถดูแลความขัดแย้งได้ จะต้องเข้าใจรากของปัญหา ความขัดแย้งอย่างแท้จริง และลงสนามมาฝึกฝนกันในสนามความขัดแย้งของจริง ซึ่งในโปรแกรมนี้จึงได้เน้นและออกแบบประสบการณ์เรียนรู้ให้ทุกคนได้เข้าใกล้ความขัดแย้งของจริง และฝึกไปพร้อมกัน โดยมีทีม Facilitator ที่เชี่ยวชาญ ดูแลอย่างใกล้ชิด  โดยประเด็นการเรียนรู้ที่สำคัญมี ดังนี้

  • คุณค่าและความสำคัญของ “ความขัดแย้ง” กับการพัฒนาองค์กร
  • ประสบการณ์ 3 ระดับของความขัดแย้งกลุ่ม/ในองค์กร (Inner Conflict / Interpersonal Conflict / World Work Conflict)
  • ปัจจัยสำคัญสำคัญที่สร้างความขัดแย้งในทีม/องค์กร
  • ผู้นำในบทบาท Facilitator กับการดูแลความขัดแย้งในทีม  
  • แก่นสำคัญ ของการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง ระหว่างบุคคล : conflict & dilemma
  • ท่าที 5 แบบ ต่อความขัดแย้งในการทำงาน 
  • เทคนิคการหยั่งราก ก่อนลงสนามความขัดแย้ง
  • ทักษะและวิธีการสื่อสารกับคู่ขัดแย้ง เพื่อสร้างความเข้าใจ เจตนาที่แท้จริง ด้วยแนวทาง NVC (Non Violent Communication)
  • สนามพลัง & ตัวละครต่างๆ ของความขัดแย้งระดับกลุ่มในองค์กร
  • สถานะอำนาจ (Rank) ต่างๆในองค์กร
  • ศิลปะการสร้างกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งกลุ่ม (Group Conflict Facilitation)
  • การสร้างวิถีการดูแลความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างความร่วมมือที่ทรงพลังในองค์กร (Transforming Conflict to Create Collaboration)

 

 

 ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • มายด์เซ็ทใหม่และความเข้าใจที่มีต่อการสร้างทีม  บริหารความขัดแย้ง
  • ทักษะที่สำคัญในการดูแลความสัมพันธ์ การสื่อสารเพื่อดูแลความขัดแย้ง เช่น ความเข้าใจสไตล์ บุคลิกษณะของคนในเชิงลึก , ทักษะการรับฟังเชิงลึกที่รับรู้ถึงความรู้สึก ความต้องการ , การรับรู้อ่านสัญญาณและบรรยากาศ , การตั้งคำถามและการสะท้อน , การสร้างบทสนทนาแบบเปิด
  • Practice ในการคลี่คลายความขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระดับบุคคลและระดับทีม 

 

กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices) 

โปรแกรมนี้ ถูกแบบเป็นโปรแกรม 2 วัน  ที่เน้นการฝึกฝน 
โดยปกติจะมี Option ในการจัดอบรม เป็น 

Option 1 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์  2 วัน 
Option 2 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน พร้อมติดตามผลจำนวน 1-2 ครั้งละ 0.5 วัน
Option 3 - ออกแบบเป็นโปรแกรมพัฒนาต่อเนื่อง (CLP - Continuous Learning Program)  3 -6 เดือน (ฝึกอบรม + Lab การฝึกต่อเนื่อง เดือนละ 0.5-1 วัน)

 

ติดต่อขอรับคำปรึกษา เพื่อออกแบบ หรือวางแผนการจัดเวิร์คช็อป /หลักสูตร

Click >>  https://www.excellentpeople-th.com/contact-us

 

สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya

 

 

Visitors: 171,045