BEYOND PERFORMANCE BY CFR - พัฒนาผลงานและพัฒนาองค์กร ด้วย CFR
โปรแกรมที่จะเน้นการฝึกทักษะการสนทนา ทั้งในบริบทของการประชุมทีมเพื่อคิดร่วมกัน การเข้าร่วมเวทีการเรียนรู้ การพูดคุย 1-1 เพื่อให้และรับฟีดแบค หรือการพูดคุยเพื่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาทีมรูปแบบอื่นๆ ในโปรแกรม ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะสำคัญของการเป็นสมาชิกที่สามารถมีส่วนสนับสนุนคุณภาพการพูดคุยของกลุ่ม (Good Contributors) ได้เรียนรู้ทักษะและวินัยสำคัญของการพูดคุยที่มีคุณภาพ ทั้งการฟังเชิงลึก (Deep Listening) การสะท้อนเพื่อสร้างความเข้าใจ (Reflection) การร่วมสร้างบรรยากาศที่เปิดและปลอดภัย (Safe Space for Open Conversation) การจับประเด็น ค้นหาจุดร่วม การดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่การสนทนาที่มีความท้าทาย (Difficult Conversation) ไปจนถึงทักษะในการให้และรับฟีดแบคและการชื่นชม (Feedback & Recognition)
ส่วนที่ 1 – สิ่งที่เราจะฝึกฝนกันในประสบการณ์ 3 วัน เราทำอะไรบ้าง?
โปรแกรมนี้จะฝึกฝนทั้งหมด 3 วัน แบบเจอตัว และติดตามผลทาง Zoom อีก 1 ครั้ง
โดยการฝึกฝนทั้ง 3 วัน แบ่งเป็น
วันที่ 1 : Experiential Learning สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตร Original
เป็นการสัมผัสประสบการณ์จริงของคลาส Beyond Performance by CFR (Conversation-Feedback-Recognition) ในฉบับ 1 วัน โดยจะเรียนไป ถอดบทเรียน ไปในแต่ละช่วง เพื่อให้สัมผัสประสบการณ์ทั้งในมุมของการเป็นผู้เข้าร่วม และได้เข้าใจรายละเอียดในมุมของการทำหน้าที่ Facilitator
เบรค 1 : Principle to CFR (Conversation-Feedback-Recognition) & Self-CFR Practice
ทำความเข้าใจในความหมาย ที่มา ความสำคัญของ CFR และเริ่มต้นการฝึกทักษะที่สำคัญในการทำ CFR ผ่านโจทย์ที่ช่วยให้ได้ฝึก ทักษะการฟัง การคิดทบทวน ใคร่ครวญ (Deep Listening and Reflection) โดยเบรกนี้จะนำเอา Practice ของ Self-CFR มาให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์จริงไปพร้อมกับการฝึกทักษะ
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- สืบค้นและทบทวนตัวเอง จากคำถามใน Growth Book
- โจทย์ 4 ข้อในการทบทวน “ฉันคือใคร”
- ตุ๊กตาขนมปังผิง บอกเล่าความเป็นตัวเรา
เบรค 2 : The Art of Asking Skills and One on One CFR Practice
ฝึกฝนทักษะการตั้งคำถาม เพื่อสร้างบทสนทนา การสืบค้น ทบทวน สร้างการตระหนักและต่อยอดความคิด ผ่านคำถาม 4 แบบ และทดลองฝึกฝนจริงในการสนทนาแบบ 1 ต่อ 1 หรือ กลุ่มเล็ก (2 ต่อ 1) โดยผ่านกระบวนการการพูดคุยแบบ 1 on 1 CFR
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- “อะไรอยู่ในนั้น” ฝึกใช้คำถามเพื่อสืบค้น สำรวจข้อมูล
- คำถามนี้เป็นของเธอ ผ่านการเลือกการ์ดคำถามที่เราเชื่อมโยงจากการฟังเรื่องของเพื่อน
- One on One CFR เพื่อช่วยเพื่อนทบทวนและต่อยอดเป้าหมายชีวิต
เบรค 3 : Psychological Safety and Group CFR
เรียนรู้จิตวิทยาความปลอดภัย แนวทางการสร้าง Creative Space และคุณภาพการสนทนาที่สร้างพลังการเรียนรู้และสร้างสรรค์ พร้อมกับร่วมฝึกฝนการสนทนาแบบกลุ่ม Group CFR ในโจทย์ที่มีความสนใจร่วมกัน ตาม Practice ของการสนทนาแบบ Group CFR
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- โหมดปกป้อง 4 ลักษณะ อุปสรรคต่อการสื่อสารด้วยความเข้าใจ
- ท่าที การสื่อสารที่ทำลายความร่วมมือ
- Group CFR สนทนาค้นหาแนวทางในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยและความไว้วางใจในองค์กร
เบรค 4 : Feedback, Recognition & Application
ฝึกฝนทักษะการให้ฟีดแบค และการชื่นชม รวมถึงการประยุกต์ CFR สู่บริบทการทำงานจริง
กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)
- 6 ช่องทางในการชื่นชม
- Feedback Space
วันที่ 2 และ 3 : Facilitation Lab
ทดลองการปฏิบัติจริงในการนำกระบวนการเรียนรู้ โดย จะแบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 – Facilitation Technique (2 ชม.) เรียนรู้ และติวอย่างเข้มข้น ถึงศิลปะการนำกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างการมีส่วนร่วม และการออกแบบประสบการณ์
ช่วงที่ 2 – Facilitation Design ( 1 ชั่วโมง) ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประยุกต์สิ่งที่สนใจเข้ากับงานจริง โดยจะให้แต่ละองค์กรได้ลองนำกระบวนการเรียนรู้ องค์กรละ 1 เบรก
ช่วงที่ 3 – Facilitation Playwork (1.5 วัน) ให้แต่ละองค์กรนำกระบวนการจริง โดยมีให้เพื่อนสมาชิกและทีมพี่เลี้ยง เข้าร่วม ทีมละ 1.5 ชั่วโมง พร้อมรับคำแนะนำ และฟีดแบ็กเพิ่มเติม
หลังจบกิจกรรม 3 วัน เราจะมีการติดตามผลอีก 1 ครั้ง (ทุกคนสามารถสอบถาม ปรึกษา ทีมพี่เลี้ยงได้เป็นระยะ) ผ่านทาง Zoom Meeting โดยจะกลับมาเจอกันหลังเว้นไป 1 เดือน
ส่วนที่ 2 –โครงสร้างของหลักสูตรที่เราฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ในการสอน หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร (Course Outline)
“ กระบวนการสนทนาที่มีคุณภาพ ที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง เรียนรู้และพัฒนาที่ไม่รู้จบ”
หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)
กระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ทำเอาองค์กรต่างๆ ปรับตัวแทบไม่ทัน ใครที่ตกเทรนด์ตามไม่ทันความเป็นไปของโลกย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่จะถูก Disrupt ได้ง่ายๆ ซ้ำแนวคิดที่เคยสร้างความยั่งยืน เคยใช้ได้ผลในอดีตก็กลับกลายเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลกับยุคสมัยปัจจุบัน จากที่เราเคยวางแผน ตั้งเป้าผลงานแบบเป็นรายปี หรือ 3-5 ปี ตอนนี้ เรากลับต้องเริ่มปรับมามองเป้าหมายสั้นๆ ที่ยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น
เมื่อลักษณะการตั้งเป้าหมายเปลี่ยนไป กระบวนการบริหารผลงาน (Performance Management) ย่อมต้องเปลี่ยนตามไปด้วย จากเดิมที่ทำกันเป็นรายปี เน้นที่การมองผลลัพธ์สุดท้ายปลายทาง คล้ายการแจกโจทย์ให้คนทำงานแต่ละคนไปในช่วงต้นปี แล้วค่อยกลับมาเจอกันอีกทีตอนปลายปีเพื่อประเมินว่าใครบ้างที่วิ่งถึงเส้นชัย และใครบ้างที่ไม่ถึง ตอนนี้ ด้วยโลกที่เปลี่ยนไป องค์กรอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมคิด และปรับตัวให้ทัน แนวทางการบริหารผลงานจึงต้องเน้นไปที่ “การพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Performance Management)” ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้คนทำงานเกิดการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่ทำงานสำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีประสบการณ์และมีความสามารถที่เพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงเป็นกระบวนการที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่มีพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือ ช่วยกันมอง ช่วยกันคิดเพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนากลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ตลอดจนสนับสนุนกันในด้านของขวัญกำลังใจในการฝ่าฟันความท้าทายไปสู่เป้าหมาย
หัวใจสำคัญของการบริหารผลงานที่มีความต่อเนื่องซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นั้น จำเป็นจะต้องใช้ “การพูดคุยสนทนาที่มีคุณภาพ และสม่ำเสมอ” การพูดคุยที่มีคุณภาพที่เพียงพอจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และไอเดียในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า CFR (Conversation , Feedback ,Recognition) กระบวนการอันเรียบง่ายแต่ทรงพลัง ซึ่งประกอบไปด้วย การสนทนาที่มีคุณภาพ (GREAT Conversation) , การให้ฟีดแบ็กเพื่อการพัฒนา (Feed Forward) และ การชื่นชมให้พลังใจ (Recognition) CFR เป็นกระบวนการที่พัฒนามาจากพูดคุยที่ใช้การบริหารผลงานในทีมกีฬา ซึ่งเป็นต้นแบบกรณีศึกษาสำคัญในการสร้างผลงานที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ กระบวนดังกล่าวยังมีการนำหลักทางจิตวิทยา ในแนวทางของไดอะล็อกและโค้ชชิ่งมาปรับใช้ทำให้กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการพูดคุยตามที่เข้าใจในแบบเดิม แต่เป็นการพูดคุยสนทนที่มีพลัง เอื้อให้มนุษย์ได้ใช้ศักยภาพที่แท้จริง ใช้ปัญญาร่วม (Collective Wisdom) มาสร้างสรรค์และพัฒนาองค์กรให้เติบโตยิ่งขึ้น
แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้
แกนสำคัญของการประสบการณ์การเรียนรู้ในโปรแกรมนี้ จะเน้นที่ ทักษะสำคัญของการทำ CFR (ตามภาพที่ 1) และ กระบวนการของการทำ CFR (Conversation-Feedback-Recognition) ซึ่งแบ่งเป็น 3 Practices สำคัญได้แก่ 1) Self-CFR การทบทวนและเรียนรู้ตนเอง 2) Group CFR การสนทนาทบทวนผลงานและการเรียนรู้ระดับทีม และ 3) 1 on 1 CFR การสนทนาแบบตัวต่อตัว เพื่อทบทวนผลงานและมิติอื่นๆที่สัมพันธ์ โดยทั้งหมดถือเป็นทั้งกระบวนการและพื้นที่ที่สำคัญในการทำงานที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning Culture)
จุดเน้นในโปรแกรมนี้มีอยู่ทั้งหมดสามส่วน หนึ่ง คือความเข้าใจในเชิงแนวคิดของกระบวนการ CFR การพูดคุยที่ดูเผินๆ อาจเป็นเรื่องเรียบง่าย แต่การจะทำให้การพูดคุยแต่ละครั้งมีคุณภาพ แท้จริงแล้วมีรายละเอียดสำคัญอะไรซ่อนอยู่บ้าง สอง คือการฝึกปฏิบัติทักษะสำคัญต่างๆ ทั้งในฐานะสมาชิก และผู้นำการสนทนา และสาม คือการออกแบบ และปรับประยุกต์ให้ CFR สามารถนำไปใช้ได้ในบริบทขององค์กรจริงได้ โดยหัวข้อการเรียนรู้ต่างๆ จะมีดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 : Principle to CFR (Conversation –Feedback- Recognition)
- ความหมายและความสำคัญของการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง กับโลกยุคปัจจุบัน
- CFR คืออะไร ทำไมถึงองค์กรต้องการ CFR (Conversation - Feedback - Recognition)
- CFR แตกต่างกับการสนทนาที่มีอยู่ ขององค์กรอย่างไร ?
- บทบาทหน้าที่ของผู้นำ กับการสร้างกระบวนการ CFR (CFR Facilitation)
- GREAT Concept กับกระบวนการ CFR
- CFR กับการบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง , การสร้างนวัตกรรม , การสร้างวัฒนธรรม และการเรียนรู้
ส่วนที่ 2 : The Essential Skills for CFR (Conversation –Feedback- Recognition)
- 4 เฟส กับการสนทนาที่มีคุณภาพ
- วินัยสำคัญในการสนทนาที่มีคุณภาพ (Discipline of GREAT Conversation)
- ทักษะการฟังที่ลึกซึ้ง และการสะท้อน (Deep Listening & Reflection Skills)
- ฝึกฝนการตระหนักรู้และการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)
- ศิลปะการให้ฟีดแบ็กที่สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนา (Art of Giving Feedback for Growth)
- การชื่นชม 6 ช่องทาง เพื่อสร้างพลังสู่การเติบโต (Recognition)
ส่วนที่ 3 CFR in Practices
- กระบวนการสำคัญของ CFR (Core Process of CFR)
- การตั้งโจทย์และสร้างกิจกรรม Check-in และ Check-out ที่ทรงพลัง
- เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และการสร้างสรรค์
- ศิลปะการดูแลความเห็นต่าง และสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงกับความขัดแย้ง ให้เป็นการคิดร่วมที่สร้างสรรค์ (Creative Conflict Facilitation)
- การติดตั้งกิจกรรม CFR ในการบริหารผลงานจริงในองค์กร ได้แก่ การนำ CFR ไปใช้ในการสนทนาแบบกลุ่ม/ทีม Group Conversation , การโค้ชแบบ 1-1 Coaching และกิจกรรม Self Reflection หัวใจสำคัญของ CFR
- หัวใจสำคัญที่ทำให้ CFR เกิดผล และ หลุมพรางที่ทำให้ CFR ล้มเหลว
- ตัวอย่างเคส องค์กรที่ใช้ CFR จนเกิดผลจริงในองค์กร
- การออกแบบกระบวนการ CFR ให้เหมาะกับบริบทองค์กรของตน
- ตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ประกอบกับ CFR เช่น Growth Book , Performance Check-in , Collaboration Board
ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)
- มายด์เซ็ทใหม่ในการเรียนรู้และพูดคุย สนทนากัน
- ทักษะสำคัญในการสนทนา ได้แก่ การตั้งคำถาม การรับฟัง การสะท้อน การสร้างความไว้วางใจ การสีงเกตบรรยากาศ และการดูแลความมั่นคงภายในตัวเอง
- ทักษะการสนทนาตามแนวทาง CFR
- ความเข้าใจในกระบวนการสนทนาที่สร้างสรรค์ (Creative Conversation)
- การประยุกต์การ CFR กับการบริหารผลงาน การสร้างทีมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของทีม การสร้างนวัตกรรม (CFR in Practice)