MD4 - Leading Team Performance by CFR

THE ART OF LEADING GREAT PERFORMANCE BASED-ON INSPIRATION AND TEAM-SPIRIT

“ การบริหารผลงานที่ดี ไม่ใช่เครื่องมือที่เรามาวัด กดดันให้สมาชิก พยายามทำผลงานให้ถึงเป้าหมายอย่างเช่น เครื่องจักร
กลับกัน นี่คือ วิถีและกระบวนการที่ต้องสร้างพลังและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้พวกเขาได้ใช้ศักยภาพและแรงบันดาลใจ
สร้างสรรค์งานของเขาและทีม เพื่อกันและกัน   ”

 

 

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

“Inspire มีรากศัพท์มาจาก Inspirare คำในภาษาละตินที่หมายถึง “การหายใจ หรือการสูดเข้าไป” นอกจากนี้ คำดังกล่าวยังมีความเชื่อมโยงกับคำว่า Spirit ซึ่งหมายถึงจิตวิญญาณด้วย”

เราต้องยอมรับว่าแนวทางการบริหารผลงานแบบเดิมอาจไม่ค่อยเวิร์คแล้ว และหนึ่งในตัวการที่ทำให้คนทำงานเครียดและมีความสุขน้อยลง ก็คือ การประเมินวัดผล ที่เน้นการแข่งขันที่เอาเป็นเอาตาย คนทำงานจำนวนไม่น้อยขยาดกับ KPI และบรรยากาศของการไล่บี้ ไล่กดดันกัน แนวทางการบริหารผลงานเช่นนั้น เกิดมาจากกระบวนทัศน์ (Paradigm) ความเชื่อที่เน้นการควบคุม ตรวจสอบ กำกับ ไม่วางใจ และไม่ยืดหยุ่นต่อความผิดพลาด ให้ความรู้สึกที่ใกล้เคียงกับ “สนามสอบ” แนวทางนี้อาจจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ แต่กลับทำให้สูญเสียพลังงาน และไม่ค่อยพัฒนาไปมากนัก เพราะคนมุ่งแต่เอาตัวรอด ทำผลลัพธ์ให้ได้ ไม่เพียงเท่านั้น รูปแบบการบริหารผลงานที่เริ่มจากการตั้งเป้าประจำปี วางแผนงานไว้ล่วงหน้า พยายามควบคุมให้ทุกคนทำตามแผนที่วางไว้ และไปวัดผลความสำเร็จรายบุคคลกันในตอนท้าย รูปแบบนี้อาจใช้ได้ผลในโลกที่นิ่ง (Static) ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เราพอคาดการณ์อนาคตได้ แต่เมื่อโลกในปัจจุบันเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ยากจะคาดเดา วิธีการบริหารผลงานแบบนี้จึงไม่ใช่แค่ใช้ไม่ได้ผล แต่ยังอาจเป็นอุปสรรคกับการก้าวเดินไปข้างหน้าขององค์กรด้วย

มีเหตุผลอยู่ 3 ข้อ ที่รูปแบบการบริหารผลงานแบบเดิมอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างผลงานขององค์กร หรืออย่างดีคือใช้ไม่ได้ผลในโลกปัจจุบันอีกต่อไป ได้แก่

  • ลักษณะงานในปัจจุบัน คือการหลอมรวมความสามารถที่หลากหลายของสมาชิก มาเป็นทีมเดียวกันจริงๆ เพื่อตอบโจทย์เฉพาะของลูกค้า ความพยายามที่จะแยกความสำเร็จของสมาชิกแต่ละคน ออกมาจากความสำเร็จในภาพรวมของทีม อาจสร้างโทษยิ่งกว่าสร้างประโยชน์ การร่วมมือกันเป็นทีมเพื่อสร้างคุณค่าคือความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างสลับซับซ้อน จนแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะแยกแยะ และชี้ชัดลงว่าในการร่วมมือกันนั้น สมาชิกแต่ละคน ใครมีส่วนกับความสำเร็จแค่ไหน มากน้อยกว่ากันเท่าไร
  • โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวัดผลแบบเดิม ที่อิงจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในอดีต (ต้นปีตั้งเป้าอะไร หรือได้รับมอบหมายเป้าหมายใด และปลายปีทำได้ตามเป้านั้นแค่ไหน) อาจใช้ไม่ได้ผล และอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้สมาชิกที่ได้รับมอบหมายให้ทำตามเป้านั้น มีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับความจริงที่เจอ (เปลี่ยนเป้า = ล้มเหลว = ไม่ได้รางวัล)
  • การวัดผลตามบทบาทหน้าที่ และการมีกรอบการประเมินที่ตายตัว ทำให้คนทำงานมุ่งความสนใจไปแต่สิ่งที่ตนควบคุมได้ เช่น การพัฒนางานตามบทบาทของตัวเอง หรือการปรับปรุงกระบวนการภายในองค์กร แน่นอนสิ่งเหล่านี้ยังคงจำเป็น แต่การมุ่งความสนใจไปแค่มิติเหล่านี้ ทำให้คนทำงานส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการมองไปยังโลกภายนอก นี่ทำให้ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อให้ทันโลกมักพบกับแรงต้าน เพราะมีเพียงไม่กี่คน (โดยมากคือผู้นำ) ที่ได้สัมผัสกับโลกภายนอก ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยังคงถูกระบบการวัดผลผูกติดอยู่กับสิ่งเดิมที่พวกเขาเคยทำ


การบริหารผลงาน (Performance Management) ในมุมมองขององค์กรและการบริหารแนวใหม่จึงเปลี่ยนไป พวกเขามองว่า PMS (Performance Management System) เป็นกระบวนการหรือระบบที่เป็น “แกน” สำคัญขององค์กรในการเคลื่อนตัวไปสู่เป้าหมาย เปรียบเสมือนวิถีการใช้ชีวิตขององค์กรก็ว่าได้  ไม่ใช่เพียงแค่การตั้งเป้าหมายและวัดผลงาน แต่หมายรวมถึงการพูดคุย การเรียนรู้ การใช้ชีวิตร่วมกันในระหว่างทางทั้งหมด  โดยมีการนำตัวอย่างของการบริหารผลงานของทีมกีฬา ที่ประสบความสำเร็จมากมายมาศึกษาและมาปรับใช้ในการบริหารธุรกิจ  ดังนั้นเรื่องนี้จึงสำคัญมาก  เป็นเรื่องที่ผู้นำและทีมงานทุกคนจะต้องได้รับการฝึกฝน  โดยแนวทางของการบริหารผลงานยุคใหม่ จะให้ความสำคัญกับการให้สมาชิกได้เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง (Autonomy) เปิดพื้นที่ให้ทีมงานเกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม (Engage)  สามารถทำงานด้วยตนเอง ( Self-Management)  และมีการร่วมคิด ร่วมพัฒนาไปพร้อมกับทีม อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning & Growth)  มีความยืดหยุ่นและทันกับการเปลี่ยนแปลง

โปรแกรม “หัวใจสำคัญสู่วิถีการสร้างผลงานที่เปี่ยมแรงบันดาลใจ” (The Essential of Inspiring Performance Way) เป็นแนวทางใหม่ของการบริหารผลงานในวิถีองค์กรมีชีวิต หรือ องค์กรจัดการตนเอง (Self-Organization) ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ และกระบวนการที่ให้สมาชิกทุกคนได้นำความสร้างสรรค์ในตัวเอง ออกมาร่วมกันสร้างคุณค่า และผลงานที่วิเศษ (Extraordinary Performance) รวมถึงได้เรียนรู้ เติบโตไปด้วยกัน เพื่อช่วยตอบโจทย์ของธุรกิจขององค์กร โปรแกรมนี้นอกเหนือจากการติดตั้งทักษะให้ผู้เรียนแล้ว ยังเป็นการออกแบบประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ทดลองผ่านวิถีการทำงานแนวใหม่ (Performance Lab) และยังช่วยสร้างรูปแบบและวิถีการทำงานขององค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่คนทำงานสนุกและพร้อมเรียนรู้ไปกับการสร้างผลงานที่ดีขึ้นร่วมกัน (Team Learning) ยิ่งทำงานยิ่งเก่งขึ้น มีนวัตกรรม สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมถึงมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น วางใจกันในทีม

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

Inspiring Performance Way คือวิถีการทำงานเพื่อสร้างผลงานรูปแบบใหม่ ที่เข้ามาช่วยเติมเต็มชิ้นส่วนที่ขาดหายไปในเกมการสร้างผลงานรูปแบบเดิม เพื่อให้วิถีการทำงานร่วมกันนี้ ได้ตอบโจทย์ทั้งผลลัพธ์ ความสัมพันธ์ แรงบันดาล และการเติบโตของสมาชิก โดยมีแนวปฏิบัติทั้ง 6 เป็นตัวนำทาง ได้แก่
- Align Team Purpose กระบวนการเชื่อมโยงเป้าประสงค์ จากบุคคลสู่ทีม
- Encourage Inspiring Goals สนับสนุนการตั้งเป้าหมายที่มาจากแรงบันดาลใจ
- Create & Hold Ecosystem around People Growth การสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเติบโตของผู้คน
- Self-Reflection วินัยและแนวทางในการทบทวนเรียนรู้กับตัวเอง
- Create Grow Conversation การสร้างบทสนทนาเพื่อขับเคลื่อนผลงานอย่างสร้างสรรค์
- Creative Motivation ทางเลือกใหม่ในการสร้างแรงจูงใจ

 

วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
  • ผู้เรียนเข้าใจบทบาทที่เปลี่ยนไปของผู้นำกับการบริหารผลงานแนวใหม่ (New Role of Leaders) และเกิดทักษะสำคัญ (Essential Skills) ในการสร้างทีมที่แข็งแรง สร้างผลงานชั้นเลิศได้ ไปพร้อมกับสร้างการเรียนรู้ภายในทีม
  • ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารผลงาน เข้าใจและสามารถนำแนวทางไปปรับใช้ในการบริหารผลงานให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ (Continuous Performance Improvement)
  • ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรงของการทำงานในวิถีการบริหารผลงานที่เปี่ยมแรงบันดาลใจ ได้เห็นภาพที่ชัดเจนของการใช้ทักษะ และแนวปฏิบัติต่างๆ ในบริบทการทำงานจริง ผ่านกิจกรรมในช่วง Performance Lab
  • ผู้เรียนสามารถนำแนวทาง ประสบการณ์จากการเรียนรู้ ไปสร้างการทำงานแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ (Learning Organization) ช่วยกันผลักดันให้เกิดองค์กรที่มีสามารถจัดตนเอง และปรับตัวไปพร้อมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้อย่างเหนือชั้น

 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

โปรแกรมนี้จะแบ่งหัวข้อการเรียนรู้ออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ หนึ่ง หลักคิดสำคัญของวิถีการบริหารผลงานที่เปี่ยมแรงบันดาลใจ (Principles of Inspiring Performance Way) สอง ทักษะสำคัญของการเป็นผู้นำ ผู้สร้างเสริมบรรยากาศแห่งการมีส่วนร่วม การสร้างผลงานไปพร้อมความสนุก การจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ที่ทรงพลังภายในทีม (Essential Skills of Leading Great Performance and Building High Performing Teams) และสาม คือแนวปฏิบัติ และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานแนวใหม่ รวมถึงการนำบทเรียนที่ได้กลับไปประยุกต์ในพื้นที่การทำงานจริง (Practices & Tools of IP Way)

ส่วนที่  1 : Principles of Inspiring Performance Way

  • ความสำคัญของการบริหารผลงาน ภายใต้ยุคสมัยแห่งการ Disrupt และความผันผวน VUCA
  • วิวัฒนาการของระบบบริหารผลงาน สู่การบริหารผลงานตามแนวทางองค์กรจัดการตนเอง(Performance Management Evolution)
  • ความแตกต่างระหว่างการบริหารผลงานแบบแนวคิด Force Concept และ Self-Management Concept
  • กระบวนการสำคัญของการบริหารผลงานที่เปี่ยมแรงบันดาลใจ (Inspiring Performance Management Processes)
  • 8 จุด เน้นของ Inspiring Performance Management
  • แนวปฏิบัติ 6 ประการของวิถีการบริหารผลงานที่เปี่ยมแรงบันดาลใจ (6 Practices for Inspiring Performance Way)   ได้แก่   1. Align Team Purpose กระบวนการเชื่อมโยงเป้าประสงค์ จากบุคคลสู่ทีม , 2. Encourage Inspiring Goals สนับสนุนการตั้งเป้าหมายที่มาจากแรงบันดาลใจ  , 3. Create & Hold Ecosystem around People Growth การสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเติบโตของผู้คน , 4. Self-Reflection วินัยและแนวทางในการทบทวนเรียนรู้กับตัวเอง, 5. Create Grow Conversation การสร้างบทสนทนาเพื่อขับเคลื่อนผลงานอย่างสร้างสรรค์  และ 6. Creative Motivation ทางเลือกใหม่ในการสร้างแรงจูงใจ)

 

ส่วนที่  2 : Essential Skills of Leading Great Performance and Building High Performing Teams

  • บทบาทสำคัญของผู้นำ กับบริหารผลงานทีม จาก ผู้สั่งการควบคุม สู่ “โค้ชและฟา” (Performance Coach and Facilitator)  ได้แก่ 1) ช่วยกระตุ้นให้ทีมรู้สึก “อิน” มีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของทีมและมีเป้าหมายร่วม (Engage People) ได้เป็นตัวของตัวเอง , 2) ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Performance and Learning) และ 3) ช่วยสร้างความสุข และพลังในการทำงาน (Inner Drive and Meaningful)
  • ความเข้าใจคนเชิงลึก จิตวิทยาแห่งการสร้างและหล่อเลี้ยงแรงบันดาลใจ (People Insight & Psychology of Intrinsic Motivation)
  • การสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ สู่ความเป็นทีมที่เหนือชั้น (Psychological Safety & High Performing Teams)
  • การสร้างบทสนทนาเพื่อการบริหารผลงาน Empowering Conversation ด้วยกระบวนการ CFR : Conversation-Feedback-Recognition “คุยกันอย่างไรให้ผลงานพัฒนา”
  • 4 เฟส กับการสนทนาที่มีคุณภาพ
  • เทคนิคการตั้งคำถาม ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้
  • ศิลปะการให้ฟีดแบ็กที่สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนา (Art of Giving Feedback for Growth)
  • การชื่นชม 6 ช่องทาง เพื่อสร้างพลังสู่การเติบโต (Recognition)

 

ส่วนที่  3 : Practices & Tools of Inspiring Performance Way

  • การค้นหาเป้าประสงค์ และเชื่อมโยงเป้าประสงค์จากบุคคลสู่ทีม ด้วยการใช้คำถามสืบค้นเชิงบวก และเครื่องมือ Golden Circle
  • การตั้งเป้าหมายที่มาจากแรงบันดาลใจ ด้วยเครื่องมือ Team Performance Canvas
  • การสร้างบทสนทนาเพื่อขับเคลื่อนผลงานอย่างสร้างสรรค์ ด้วยเครื่องมือ Performance Check-in Cards
  • การวางแผนระดับทีม และการทำงานร่วมกัน ด้วย Collaboration Boards
  • แนวปฏิบัติเพื่อสร้างการเรียนรู้เติบโตไปพร้อมการทำงาน ด้วยเครื่องมือ Growth Book

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • ความเข้าใจในระบบและกระบวนการบริหารผลงานทีมที่เน้นการมีส่วนร่วมและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Inspiring Performance Way Understanding)
  • การคิดที่เป็นระบบและเห็นภาพ (System Thinking)
  • ทักษะการวางแผนและบริหารเวลา (Planning & Time Management)
  • ทักษะ Facilitator นำกระบวนการพูดคุยแบบกลุ่มที่ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบส่วนร่วม (Facilitation Skills) ซึ่งในคลาสจะได้ฝึกการนำคุยในบริบทต่างๆ เช่น การตั้งเป้าหมาย , การวางแผนการทำงาน , การทบทวนและเรียนรู้ คิดร่วมกัน เป็นต้น
  • การออกแบบรางวัลและการสร้างแรงจูงใจที่ส่งเสริมบรรยากาศการทำงาน (Creative Reward and Motivation)

 

กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)

โปรแกรม 2 วัน  ที่เน้นการฝึกฝน 

Visitors: 170,802