Empathic Listening

“ฟังด้วยความเข้าใจ ให้ถึงความต้องการ  สื่อสารด้วยความตรงไปตรงมา และสร้างสรรค์”

 

 หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

องค์กรหรือทีมของคุณเจอปัญหากวนใจ แบบนี้บ้างไหม ?

  • มีแต่คนพูด แต่ไม่ค่อยมีคนฟัง
  • ต่างคนต่างทำงาน ต่างเอาตัวรอด ไม่สนใจผู้อื่น
  • ยิ่งทำงาน ยิ่งหมดไฟ
  • มีการ “ติดต่อ” แต่คุยกันทีไรไม่ “ติด” และ “ต่อ” กันได้สักที
  • สื่อสารกันไม่เข้าใจ สื่อสารตามที่ตัวเองถนัด ไม่ได้สนใจผู้รับสาร
  • คน/พนักงาน ปิดกั้นการเรียนรู้ ไม่ค่อยพัฒนาตนเอง
  • ฯ ลฯ

 

การสื่อสาร" (Communication) คือ ทักษะอันเป็นของขวัญที่มนุษย์ได้มาเพื่อเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน แต่กลายว่า การสื่อสาร กลับเป็นปัญหาคลาสสิค ที่เจอพบเจอกันในทุกส่วนของการใช้ชีวิต ทั้งในครอบครัวและที่ทำงาน    องค์กรโดยมากเติบโตมาจากแนวทางการบริหารแบบที่มีระดับชั้น (Rank) ที่สลับซับซ้อน สิ่งนี้ทำให้เกิดการทำงานแบบ Silo ทั้งการแบ่งเขตแดนของการทำงานระหว่างหน่วยงาน รวมถึงการสื่อสารที่มีการแบ่งขั้น แบ่งชั้น ทั้งการสื่อสารจากบนลงล่าง และล่างขึ้นบน ก็ต้องทำไปทีละชั้น เส้นแบ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้เกิดปัญหาสำคัญในการสื่อสารในหลากหลายองค์กร ทำให้ปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ทั้งปัญหาในงาน รวมถึงปัญหาช่องวางทางความสัมพันธ์

การที่เราจะก้าวข้ามปัญหาที่ยากๆ ท้าท้าย ได้  จะต้องเริ่มต้นจาก “ความเข้าใจ” ซึ่งทักษะที่สำคัญมาก ก็คือ “การฟัง” หลายองค์กรที่รู้ว่าจะต้องเรียนเรื่องนี้ พวกเขาก็จะมีท่าทีที่แสดงออกว่า “ทำไมฉันต้องเรียนฟัง” เพราะเราคิดว่าเราพูด เราฟังกันมาตลอดชีวิต แต่เราไม่รู้ว่าสิ่งที่เราพูดคุยกันอยู่นั้น ยังไม่มีคุณภาพมากพอ มันยังไม่เพียงให้เราเข้าใจกัน เราไม่ได้มีพื้นที่การฟังให้กับทุกคน ทุกเรื่อง “การฟังด้วยความเข้าใจ” (Empathic Listening)  จึงเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึง และเป็นทักษะที่สำคัญมากในการทำงานร่วมกัน  ให้เราได้รับรู้ เข้าใจในสิ่งที่ทั้งตัวเราและคู่สนทนาได้อย่างเข้าใจจริงๆ  การฟัง ไม่เพียงจะช่วยให้เราทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นเท่านั้น ยังช่วยให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ ได้เกิดความคิดเชิงนวัตกรรม รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่างมาก

หลักสูตร Empathic Listening ศิลปะการรับฟังอย่างเข้าใจ  ได้ออกแบบ มาเพื่อช่วยบ่มเพาะทักษะการฟัง เพื่อสร้างความเข้าใจที่แท้จริงในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้เข้าใจในตัวตนและธรรมชาติของตัวเราและผู้อื่น ,การสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างการสื่อสารแบบเปิด (Openness) และที่สำคัญก็คือ การฟังเชิงลึกด้วย Empathic Listening เพื่อเปิดพื้นที่ให้สมาชิกทุกคนได้มี “เสียง” ให้พวกเขาสามารถส่งเสียงของความรู้สึก (Feeling)  และความต้องการที่แท้จริง (Needs) ของตนออกมาได้เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้  ช่วยกันดูแล และใช้เป็นสะพานที่ทำให้เกิดความเข้าใจกันอย่างแท้จริง บนโลกที่มีความสลับซับซ้อนนี้ (Complexity)

 

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

เราใช้ หลักความรู้และแนวปฏิบัติสำคัญในการรับฟังอย่างเข้าใจ ที่ช่วยให้จดจำและฝึกฝนโดยง่าย โดย 4-4-4 Code for Empathic Listening ซึ่งจะแบ่งเป็น 1) 4 จุดใส่ใจในการับฟัง ที่เป็นเสมือนคาถาสำคัญในการฝึกฝนและดูแลคุณภาพของการฟัง "สนใจ-สังเกต-อนุญาต-รอได้" (Attention-Observation-Permission-Slow & Silence)  2)  4 กับดักการฟัง ที่ทำให้คุณภาพของการรับรู้รับฟังลดลง "ฟังแบบเลื่อนลอย - ฟังแบบคิดดักหน้า - ฟังแบบสงสัย ตรวจสอบ และฟังแบบจมกับอารมณ์"  และ 3) 4 จุดที่เรารับฟัง (เราฟังอะไรบ้าง)  ตั้งแต่ ข้อความสำคัญ (Key Massage) , ความรู้สึกที่รับรู้ (Feeling) , ความต้องการในเบื้องลึก (Needs) และคุณค่าที่เชื่อมโยงกัน (Common Points and Values)  โดยจะได้ฝึกฝนอย่างเข้มข้นในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การฟังเพื่อเข้าใจตัวตน การรู้จักกัน , การฟังเพื่อให้คำปรึกษา , การฟังเพื่อพัฒนา เรียนรู้ เป็นต้น

 

 

วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
  1. ผู้เรียนเข้าใจและเข้าถึงองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้คน “เปิดใจ” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสื่อสาร ผ่านองค์ความรู้ทางสมอง จิตวิทยา โดยเฉพาะบทเรียนเกี่ยวกับความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ
  2. ผู้เรียนเกิดทักษะใหม่ในฟังอย่างเข้าใจ  (Empathic  Listening)  และการสะท้อน (Reflection) ที่นำไปสู่ความเข้าใจกัน
  3. ยกระดับและพัฒนาวัฒนธรรมและการสื่อสารภายในองค์กร ให้เกิดความเข้าใจและเกิดบรรยากาศของการทำงานร่วมกันที่นำไปสู่การเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ พัฒนาองค์กรไปด้วยกัน
 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

ในโปรแกรมนี้เราจะเน้นสองส่วนสำคัญ คือ 1. การฝึกฝน ติดตั้งทักษะการสื่อสารเพื่อความเข้าใจ ทั้งการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) การรับฟังเชิงลึก (Empathic Listening 2. การนำไปใช้งานจริง (Empathic Listening@Work) การจำลองการฝึกที่นำโจทย์จริงมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปต่อยอดในการทำงานได้

  • กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทีมงาน (New Management Paradigm)
  • ความหมายและความสำคัญของ Empathic Listening ในโลกยุคดิจิตัล
  • 4-4-4 Code กับ การฟังด้วยความเข้าใจ (Empathic Listening)
  • 4 จุดใส่ใจที่ช่วยสร้างคุณภาพในการรับฟัง "สนใจ-สังเกต-อนุญาต-รอได้" (Attention-Observation-Permission-Slow & Silence)
  • 4 กับดักการฟัง ที่ทำให้คุณภาพของการรับรู้รับฟังลดลง "ฟังแบบเลื่อนลอย - ฟังแบบคิดดักหน้า - ฟังแบบสงสัย ตรวจสอบ และฟังแบบจมกับอารมณ์" 
  • 4 จุดที่เรารับฟัง (เราฟังอะไรบ้าง)  ตั้งแต่ ข้อความสำคัญ (Key Massage) , ความรู้สึกที่รับรู้ (Feeling) , ความต้องการในเบื้องลึก (Needs) และคุณค่าที่เชื่อมโยงกัน (Common Points and Values)
  • สมองสามชั้น กับการสร้างพื้นที่ปลอดภัย
  • ความสำคัญของพื้นที่ปลอดภัยและแนวทางการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)
  • ช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการรับรู้ (สีหน้า ท่าทาง , น้ำเสียง และ ถ้อยคำ)
  • โหมดปกป้อง กลไกการป้องกันตัว เมื่อไม่ปลอดภัย (Protection Mode)
  • Practice การรับฟังในกรณีต่างๆ เช่น การรับฟังเพื่อเรียนรู้ รู้จักความเป็นตัวตนของคู่สนทนา/สมาชิก (Listen for Empathy and Connect), การรับฟังเพื่อให้คำปรึกษาหรือความช่วยเหลือ (Listen for Co-ordination and Support) , การรับฟังเพื่อคลี่คลายความขัดแย้ง (Listen for Conflict Resolution) , การรับฟังเพื่อคิดร่วม (Listen for Collective Thinking) และรับฟังฟีดแบ็กเพื่อการพัฒนา (Listen Feedback for Self- Development)  
  • การสร้างวิถีการสื่อสาร Empathic Communication ในองค์กรให้เกิดเป็นวัฒนธรรม เช่น การพูดคุยกับแบบ 1-1 (one on one) ,   การประชุมทีมและการระดมความคิดเห็น

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • ทักษะการฟังด้วยความเข้าใจ แบบ Empathic Listening)
  • ทักษะการคิดใคร่ครวญและเรียนรู้เชิงลึก (Reflection Skills)
  • ทักษะการสังเกตและตระหนักรู้ในสภาวะปลอดภัยและไม่ปลอดภัย (Observe and Self-Awareness)
  • การตั้งแกนและดูแล สร้างความปลอดภัยให้ตัวเอง (Self-Empathy ad Resilience)
  • การสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่สนับสนุนความปลอดภัย (Creating Safety Space)
  • การสื่อสารที่สร้างความร่วมมืออย่างเต็มใจ (Collaborative Communication)

 

กิจกรรมที่ฝึกปฏิบัติ (Possible Practices)

โปรแกรมนี้ ถูกแบบเป็นโปรแกรม 2 วัน  ที่เน้นการฝึกฝน 
โดยปกติจะมี Option ในการจัดอบรม เป็น 

Option 1 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์  1 วัน 
Option 2 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน 
Option 3 - ฝึกอบรมเชิงประสบการณ์ 2 วัน พร้อมติดตามผลจำนวน 1-2 ครั้งละ 0.5 วัน

หรือ ถ้า องค์กรของคุณอยากมีข้อจำกัดเรื่องเวลา และทรัพยากรอื่นๆ สามารถออกแบบเป็น 1 วัน ได้
ซึ่งจำเป็นจะต้องลดความเข้มข้น หรือ อาจจะต้องเลือกลดบาง Practice ไปบ้าง แต่เรายังคงเน้นคุณภาพให้ได้มากที่สุด 

 

 

-------------------------

ติดต่อขอรับคำปรึกษา เพื่อออกแบบ หรือวางแผนการจัดเวิร์คช็อป /หลักสูตร

Click >>  https://www.excellentpeople-th.com/contact-us

 

สนใจ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

080-4594542 (ออ ณรัญญา)
Line id : aornarunya

Visitors: 171,045