PHYCHOLOGICAL INTERVIEW - จิตวิทยาสัมภาษณ์

How to Interview People to  Fit with DNA & Culture 

โปรแกรมที่มุ่งเน้นการบ่มเพาะความเข้าใจเชิงลึกในแก่นที่สำคัญของการให้และรับ Feedback อย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างพลังบวกสู่การเปลี่ยนแปลง ด้วยเครื่องมือและหลักปฏิบัติที่ผสมผสานองค์ความรู้สำคัญ อาทิ Radical Candor , Positive Psychology Coaching , Non Violent Communication เข้าด้วยกัน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถกลับไปให้ Feedback ในการนำทีม และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเกิดผล สร้างพลังบวก สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกับผู้รับ Feedback ได้ดีขึ้น

 

ส่วนที่ 1 – สิ่งที่เราจะฝึกฝนกันในประสบการณ์ 3 วัน เราทำอะไรบ้าง

โปรแกรมนี้จะฝึกฝนทั้งหมด 3 วัน แบบเจอตัว และติดตามผลทาง Zoom อีก 1 ครั้ง

โดยการฝึกฝนทั้ง 3 วัน แบ่งเป็น

 

วันที่ 1 : Experiential Learning สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ของหลักสูตร Original

เป็นการสัมผัสประสบการณ์จริงของคลาส Phychological Interview ในฉบับ 1 วัน โดยจะเรียนไป ถอดบทเรียน ไปในแต่ละช่วง เพื่อให้สัมผัสประสบการณ์ทั้งในมุมของการเป็นผู้เข้าร่วม และได้เข้าใจรายละเอียดในมุมของการทำหน้าที่ Facilitator

 

เบรค 1 : Principle to Psychological Interview

ปักหมุดความเข้าใจในจิตวิทยาสัมภาษณ์งาน ทำไมการสัมภาษณ์แนวนี้ถึงสำคัญ และมีกระบวนการ ทักษะอะไรที่ต้องฝึกฝน โดยการสัมภาษณ์จิตวิทยาจะเน้น 3 Step สำคัญ ได้แก่ Connect – Explore และ Co-Creation   นอกจากความเข้าใจแล้ว ในเบรกแรกนี้จะเน้นมากในการค่อยๆ ฝึกใช้ทักษะและกระบวนการของการสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยา ที่เน้นการฟังเชิงลึก(Deep Listening)  การสะท้อน (Reflection) เป็นหัวใจสำคัญในการทำความเข้าใจในผู้รับการสัมภาษณ์หรือสนทนากับเรา  เบรกนี้จะยังไม่ได้ฝึกตั้งคำถาม จะใช้คำถามจากการ์ดไปก่อน เพราะอยากให้ทุกคนจดจ่อ กับการฟังเชิงลึก

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • โจทย์ 4 ข้อในการทบทวน “ฉันคือใคร”
  • ตุ๊กตาขนมปังผิง บอกเล่าความเป็นตัวเรา

 

เบรค 2 : People Insight

เบรกสองจะให้พาผู้เรียนไปสัมผัสทำความเข้าใจในโครงสร้างภายใน หรือ จิตวิทยาของมนุษย์ ผ่านผู้นำ 4 ทิศ และ ทฤษฎีผู้เข้าน้ำแข็ง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเริ่มมองเห็นหรือพอมีไกด์ไลน์การทำความเข้าใจคนได้ง่ายขึ้น (แต่มีจุดที่เราจะเน้นไม่ให้พวกเขาติดหลุมพรางการตัดสิน ประเมินคนไปด้วย) “คนตรงหน้าเรา เขามีพรสวรรค์ หรือเป็นผู้นำในแนวไหน”

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • เรียนรู้เข้าใจคนเชิงลึก ผ่าน ผู้นำสี่ทิศ
  • เรียนรู้คุณค่า ความเชื่อ บุคลิกลักษณะของคนผ่านทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง และอาหารใจ 10 หมู่

 

เบรค 3 : Psychological Safety and The Art of Asking for Creating Connected Conversation

เป็นการฝึกฝนการสร้าง Connect ซึ่งถือเป็นสเต็ปที่สำคัญของการสร้างบทสนทนาเพื่อการสัมภาษณ์งาน หากผู้รับการสัมภาษณ์รู้สึกไม่ปลอดภัย พวกเขาจะไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเอง เบรกนี้จะเน้นการฝึกฝนศิลปะการสร้างความไว้วางใจ ความรู้สึกผ่อนคลาย และการใช้คำถามที่ทำเกิดการเชื่อมโยง สำรวจ ค่อยๆ ทำความรู้จักกันอย่างเป็นธรรมชาติ แต่มีความลึกซึ้ง โดยจะมีการสาธิตให้ดูจริง

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • โหมดปกป้อง 4 ลักษณะ อุปสรรคต่อการสื่อสารด้วยความเข้าใจ
  • 6 Questions ฝึกฝนการออกแบบคำถามเพื่อ เชื่อมโยง (Connect) ทำความรู้จัก สำรวจ (Explore) และร่วมคิด (Co-Creation)
  • Demo – การสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยา เต็มรูปแบบ

เบรค 4 : Creative Interview Space

ฝึกการสัมภาษณ์แบบ Triad  แบบ 3 คน โดยแต่ละกลุ่มจะออกแบบคำถามตามหลัก STAR และทดลองสัมภาษณ์จริง โดยดำเนินตามกระบวนการและหลักการสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยา   

กิจกรรมที่เป็นไปได้ในการฝึกฝนร่วมกัน (Possible Activities)

  • Triad Practices
  • Interview Reflection

 

วันที่ 2 และ 3 : Facilitation Lab  

ทดลองการปฏิบัติจริงในการนำกระบวนการเรียนรู้ โดย จะแบ่งเป็น 3 ช่วง

ช่วงที่ 1 – Facilitation Technique (2 ชม.)  เรียนรู้ และติวอย่างเข้มข้น ถึงศิลปะการนำกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างการมีส่วนร่วม และการออกแบบประสบการณ์ 

ช่วงที่ 2 – Facilitation Design ( 1 ชั่วโมง)  ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ หรือ ประยุกต์สิ่งที่สนใจเข้ากับงานจริง โดยจะให้แต่ละองค์กรได้ลองนำกระบวนการเรียนรู้ องค์กรละ 1 เบรก

ช่วงที่ 3 – Facilitation Playwork (1.5 วัน) ให้แต่ละองค์กรนำกระบวนการจริง โดยมีให้เพื่อนสมาชิกและทีมพี่เลี้ยง เข้าร่วม ทีมละ 1.5 ชั่วโมง พร้อมรับคำแนะนำ และฟีดแบ็กเพิ่มเติม

 

หลังจบกิจกรรม 3 วัน เราจะมีการติดตามผลอีก 1 ครั้ง (ทุกคนสามารถสอบถาม ปรึกษา ทีมพี่เลี้ยงได้เป็นระยะ) ผ่านทาง Zoom Meeting โดยจะกลับมาเจอกันหลังเว้นไป 1 เดือน  

ส่วนที่ 2 –โครงสร้างของหลักสูตรที่เราฝึกฝนเพื่อนำไปใช้ในการสอน หรือสร้างกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร (Course Outline)

" หาคนที่เชื่อ ที่มีความฝันคล้ายกัน มาร่วมเดินทางและเติบโตไปด้วยกันกับ(องค์กร)เรา" ด้วยกระบวนการที่ทำให้เรารู้จักเขาได้ถึงตัวตนในเบื้องลึก

 

หลักการ เหตุผล และความเชื่อเบื้องหลัง ของโปรแกรม (Principle and Reason)

องค์กรก็เปรียบเสมือนมนุษย์คนหนึ่งที่มีชีวิต มีหัวใจ มีความรู้สึก ความคิด เป้าหมาย และความต้องการ เราเชื่อว่าในการที่องค์กรจะมีชีวิตได้นั้นย่อมเกิดจากการรวมตัวของสมาชิกทุกคนในองค์กร เปรียบเหมือนเซลล์หรืออวัยวะที่ผสานรวมกันขึ้นมาเป็นมนุษย์คนหนึ่งนั่นเอง ดังนั้น การเลือกสมาชิกใหม่เข้ามาในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะสมาชิกทุกคนที่เข้ามาใหม่ย่อมส่งผลกระทบกับชีวิตโดยรวมขององค์กร

เดิมทีในยุคก่อน การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน เรามักสนใจมองหาคนที่ “ทำงานได้” คือเป็นคนที่มีความรู้ ประสบการณ์ และสมรรถนะ (Competency) ที่ตรงหรือสอดคล้องกับตำแหน่งงานที่เราเปิดรับ นั่นทำให้กระบวนการสรรหาและคัดเลือกมักเน้นไปที่การประเมิน ทดสอบ คัดกรองผ่านคำถามที่เน้นไปเชิงของ Action และ How to ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เราต่างได้เห็นอยู่หลายครั้งว่าแม้เราจะเลือกคนที่ทำงานได้เข้ามาในองค์กร แต่เมื่อเราไม่ได้มองไปยังสิ่งที่อยู่ลึกลงไปกว่าแค่ทักษะความสามารถ หลายครั้งคนเก่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถปรับตัว อยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่นในองค์กรได้ และอาจไม่พร้อมที่จะเติบโตต่อไปพร้อมกับองค์กรจริงๆ

บทเรียนจากยุคก่อนสอนเราให้รู้ว่าการคัดเลือกทีมงานมีความสำคัญกับความเป็นไป และการเติบโตขององค์กรเป็นอย่างมาก ยิ่งเมื่อมาถึงยุคสมัยปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็ว โลกมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้องค์กรต้องการความเป็นปึกแผ่นและพลังในการขับเคลื่อนที่สูงขึ้น นี่เองทำให้องค์กรเริ่มหันมาสนใจเพิ่มมิติในการสรรหาและคัดเลือกสมาชิก ให้กระบวนการดังกล่าวใส่ใจกับการมองเห็น “ตัวตน (Self)” ของผู้สมัครด้วย เพื่อให้องค์กรได้คนที่มีเป้าประสงค์ และความฝัน (Purpose) มี DNA หรือค่านิยมที่สอดคล้องเข้ามาร่วมและส่งเสริมการเติบโตของทีม

แกนสำคัญของ กระบวนการเรียนรู้ ที่ใช้ในโปรแกรมนี้

โปรแกรมหลักสูตร จิตวิทยาการสัมภาษณ์และคัดเลือก (Psychological Interview) - สัมภาษณ์งานให้ได้คนที่ใช่ ที่ตรงกับ DNA และวัฒนธรรรมองค์กร (How to Interview : to fit with organizational DNA & culture) ได้ใส่ใจและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยในเรื่องการทำความเข้าใจ “ตัวตน” ของผู้รับการสัมภาษณ์ในระดับลึก คือไม่เพียงแค่การเข้าใจคุณลักษณะ จุดแข็ง คุณค่าส่วนบุคคล และความเชื่อเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการมองเห็นสิ่งที่ Candidate ให้คุณค่า (Inspiration), มีความคาดหวัง (Expectation), ความต้องการที่แท้จริง (Needs) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ดูแล และสนับสนุนให้เขาได้สร้างคุณค่าตามความหมายที่แต่ละคนให้จริงๆ ทักษะทั้งหมดที่ได้ฝึกฝนผ่านกระบวนการเรียนรู้ ไม่เพียงแค่นำไปใช้ในการสัมภาษณ์งานได้เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้กับการพูดคุย สนทนากับทีมงานเพื่อการสร้างทีมและผลงานด้วย

 
 
วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมนี้ (Key Objectives)
1.“มองคนออก เข้าถึงใจคน” เข้าใจมนุษย์ในเชิงลึก และสามารถรับฟัง เพื่อทำความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ได้ตามแนวทางที่ฝึกฝน
2.สามารถสัมภาษณ์และคัดเลือกคนที่มี DNA หรือค่านิยมสอดคล้อง สัมพันธ์กัน เพื่อมาร่วมสร้างสรรค์คุณค่าดีๆ ตามที่ตั้งใจ ขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า
3.บ่มเพาะทักษะและความสามารถในการพูดคุย สร้างบทสนทนาให้กับผู้นำ ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและสร้างพลัง (Leadership Conversation)
4.นำแนวทางและประสบการณ์ที่ได้ไปต่อยอด ทั้งการคัดเลือก, การบริหาร และดูแลคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ให้สามารถช่วยส่งเสริม พัฒนาให้องค์กรเติบโตได้
 

ประเด็นการเรียนรู้หลักของโปรแกรมนี้ (Key Learning Contents)

สิ่งที่ Workshop ในโปรแกรมนี้เน้นเป็นพิเศษ มีอยู่ 3 จุดสำคัญ คือ 1. การเข้าใจธรรมชาติของพื้นฐานของมนุษย์ในเชิงลึก ที่ลึกไปกว่าชั้นของความรู้ ประสบการณ์  2. การเชื่อมต่อ Connect กับผู้รับการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการที่เราจะเข้าไปถึงใจเขา เป็นเสมือนประตูของเขา  และ 3. การฝึกฝนกระบวนการพูดคุยผ่านการฟังและคำถามที่ทำให้เขาค่อยๆเผย ตัวตน ความเป็นเขาให้เราได้รู้จักกัน อย่างอิสระ ซึ่งทั้งหมดถูกออกแบบให้ทุกคนได้เข้าใจอย่างละเอียดผ่านการกระบวนการเรียนรู้เชิงประสบการณ์

  • ทำไมเราถึงให้ความสำคัญของการสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยาที่เน้นการเข้าใจตัวตน ? 
  • ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของการคัดเลือกคนแบบ CBI (Competency base Interview) , BBI (Behavior base Interview) , และ SBI (Self base Interview)
  • แนวคิด เรื่อง “ตัวตน” กับการวัฒนธรรมและ DNA ขององค์กร
  • CEC Model (Connect-Explore-Co Create) กระบวนการสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยา
  • เข้าใจคนอย่างลึกซึ้ง ด้วยเครื่องมือผู้นำสี่ทิศและ Me My Self 12 ตัวตน
  • ถอดรหัสพฤติกรรมคนเชิงลึกด้วย Iceberg Model  เรียนรู้ความเชื่อ ,คุณค่า,ความคาดหวัง ,จุดแข็ง (Strength) และความต้องการ ของคนที่มีสไตล์แตกต่างกัน
  • การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการสัมภาษณ์งาน (Creating Safe Space)
  • ศิลปะการฟังเชิงลึก (Deep Listening) เพื่อเข้าใจคน
  • เทคนิคการตั้งคำถามสัมภาษณ์เพื่อเข้าใจตัวตน  (Self base Interview) 
  • ความแตกต่างของการใช้คำถามแบบ If Question กับ Story Question 
  • การออกแบบคำถามตามแนวทาง E+R=O (Event / Respond / Outcome) ที่เชื่อมกับการค้นหา DNA และวัฒนธรรมองค์กร
  • กระบวนการสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงตัวตน และจุดแข็ง (SBI Process)
  • หลักการวิเคราะห์และประเมินผู้ที่มี Growth Mindset หรือ Fixed Mindset 
  • การประยุกต์แนวทางการสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยาไปปรับใช้ในการคัดเลือกกลุ่มคนเก่ง (Talent) , ผู้สืบทอดตำแหน่ง (Successor) หรือกลุ่ม Key Position
  • การประยุกต์แนวทางการสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยาไปปรับใช้ในการสร้างความสัมพันธ์และสร้างทีมงาน

 

ทักษะที่ฝึกฝน (Skills Development)

  • มายด์เซ็ทใหม่ในการสัมภาษณ์และคัดเลือก จาก สนามสอบ มาสู่ การรู้จักกัน
  • ความสามารถในการเข้าใจคนเชิงลึก (People Insight)
  • ทักษะที่สำคัญในการสร้างบทสนทนาที่สร้าง Connection และ Co-Creation ได้แก่ ทักษะการฟังที่ลึกซึ้ง (Deep Listening) , Reflection , การตั้งคำถามเพื่อสำรวจและสืบค้น (Exploration & Inquiry) , การสร้างพื้นที่ปลอดภัย (Create safe space)
  • ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้และเข้าใจคนเชิงลึกทางจิตวิทยา
 

 

 
Visitors: 171,060